วันพุธที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓

การสรรเสริญ

การสรรเสริญ
เขียนโดย อ. ประยุทธ สาริมาน
การสรรเสริญ - เป็นการให้เกียรติพระเจ้า
การสรรเสริญ - เสริมความเชื่อให้แข็งแรงขึ้น
การสรรเสริญ - นำการปลดปล่อยลงมา
การสรรเสริญ - เป็นเสียงสำเนียงของความเชื่อ
การสรรเสริญ - เป็นภาษาสวรรค์
การสรรเสริญ - จัดวางเวทีไว้ให้พระเจ้าเคลื่อนไหว
การสรรเสริญ - ปลดปล่อยเหล่าทูตสวรรค์ให้ออกไปทำการของพระองค์
การสรรเสริญ - เติมความสุขความยินดี ซึ่งเป็นพลังชีวิตของคุณ
การสรรเสริญ - ทำให้กำแพงที่ขวางกั้นทลายลง
การสรรเสริญ - ทำให้ศัตรูและผู้ไม่ประสงค์ดีเงียบลง
การสรรเสริญ - ขับไล่ความมืด และความเศร้าหมอง
การสรรเสริญ - ต้องนำหน้ามาก่อน ไม่ใช่ตามหลังพระพร
การสรรเสริญ - เป็นการให้พระเจ้ามีสิทธิที่จะเข้ามาช่วยคุณ
การสรรเสริญ - นำพระสิริของพระเจ้าลงมา
การสรรเสริญ - เป็นเครื่องหมายของความมั่นใจในการยอมรับพระคำของพระเจ้า
การสรรเสริญ - เป็นทางกว้างให้ความเชื่อเคลื่อนพระพรลงมา
การสรรเสริญ - เป็นการเรียกหาสิ่งทั้งหลาย ซึ่งดูเหมือนว่ายังไม่ได้เป็นอย่างนั้น
16 จงชื่นบานอยู่เสมอ 17 จงอธิษฐานอย่างสม่ำเสมอ 18 จงขอบพระคุณในทุกกรณี เพราะนี่แหละ
เป็นน้ำพระทัยของพระเจ้า ซึ่งปรากฏอยู่ในพระเยซูคริสต์เพื่อท่านทั้งหลาย
1 ธส.5:16-18
ข้อพระคัมภีร์ดังกล่าวบอกเราว่า ให้เราขอบพระคุณ “ใน” ทุกกรณี ไม่ใช่คำว่า “สำหรับ” ทุกกรณี ในท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค ในท่ามกลางการต่อต้าน ขณะที่เรารู้สึกประหนึ่งว่าศัตรูอยู่ต่อหน้า และนำความเลวร้ายมา ในตรงหน้าที่นั่น อย่าให้เราก้าวเข้าไปในความตึงเครียดนั้น จงหันกลับไปหาพระองค์ และสร้างความตึงเครียดให้กับสิ่งที่เข้ามาหาเรา และตระหนักว่าชีวิตของเราเป็นของพระเจ้า และเริ่มตระหนักถึงความรักของพระองค์ สรรเสริญและนมัสการพระองค์ (การกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่มารสมควรจะได้รับ)

ฮบ.13:15-16 15 เหตุฉะนั้น ให้เราถวายคำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชาแด่พระเจ้าตลอดไป โดยทางพระองค์นั้น คือคำกล่าวยอมรับเชื่อพระนามของพระองค์ 16 จงอย่าละเลยที่จะกระทำการดี และจงแบ่งปันข้าวของซึ่งกันและกัน เพราะเครื่องบูชาอย่างนั้นเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า

“คำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชา” เป็นอย่างไร ? หมายถึงอะไร?
คำตอบ เป็นการสรรเสริญที่เกิดขึ้นในยามที่เราไม่อยากจะสรรเสริญ ขณะที่แรงกดดันอย่างมากอยู่ตรงหน้า

จงร้องเพลงถวายพระองค์ สรรเสริญพระองค์ รักพระองค์ จงขอบพระคุณพระองค์สำหรับความรักและการไถ่ สำหรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ที่พระองค์ส่งมาสถิตอยู่ในเรา ผู้ทรงเป็นพระผู้ช่วยเรา ผู้เล้าโลมใจของเรา ครูของเรา ผู้ทรงอยู่กับเราเสมอ เคียงข้างเราและนำเราไป จงสรรเสริญพระองค์สำหรับพระสัญญาของพระองค์ที่อยู่เต็มไปหมดในพระวจนะของพระองค์ที่ทรงประทานให้เรา และไม่ล้มเหลว แม้สักข้อหนึ่ง จงสรรเสริญสำหรับการเคลื่อนไหวในชีวิตของเรา และกระทำกิจในเราอย่างมั่นคง จงสรรเสริญพระองค์เนื่องจากทรงเป็นผู้สร้างและทำให้ความเชื่อของเราไปสู่จุดหมาย จงสรรเสริญพระองค์ที่ทรงนับว่าเราเป็นบุตรของพระองค์ เราเป็นทายาทของพระเจ้าทางพระเยซูคริสต์ จงสรรเสริญพระองค์ เนื่องจากทรงยกเราขึ้นและวางเราไว้ร่วมกับพระเยซู ผู้ทรงประทับบนสวรรค์สถาน จงสรรเสริญพระองค์เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ที่ทรงสร้างเราให้เราเป็นผู้ชนะในพระเยซูคริสต์ จงสรรเสริญพระองค์ที่ทรงรักเราและรักอย่างไม่สิ้นสุด

จงสรรเสริญพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้เยียวยารักษา , ผู้ทรงชำระ , ผู้เป็นองค์สันติสุข , ผู้เป็นพระผู้จัดสรร , ผู้เป็นพระผู้เลี้ยง หากเราอ่านสดุดี 23 และ 91 เราก็จะพบว่าพระเจ้าทรงมีพระสัญญาที่จะทรงกระทำกับเรามากมาย จงชื่นชมในพระเจ้าภายในจิตใจของเรา เพราะความยินดีในพระเจ้าเป็นกำลังของเรา ขณะที่คุณสรรเสริญพระเจ้า คุณจะสัมผัสถึงบรรยากาศรอบๆ ตัวคุณได้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป ทำไม? ก็เพราะคุณเลือกที่จะให้ความสนใจของคุณไปอยู่ที่พระเจ้า แทนที่จะสนใจในปัญหาของคุณ วนเวียนอยู่กับมันจิตใจของคุณ ความคิดของคุณก็ถูกปัญหาผูกมัดจนดิ้นไม่หลุด คุณต้องตัดสินใจที่จะสรรเสริญพระเจ้า และใช้ความเชื่อที่จะยกเสียงสรรเสริญพระองค์โดยความเชื่อ ไม่สนใจว่าคุณจะพบอะไร ความรู้สึกของคุณจะเป็นเช่นไร ”จงสรรเสริญพระเจ้าให้เป็นวิถีชีวิตประจำวันของคุณ และคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”

“แต่ท่านทั้งหลายเป็นชาติที่พระองค์ทรงเลือกไว้แล้ว เป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็นประชาชาติบริสุทธิ์ เป็นชนชาติของพระเจ้าโดยเฉพาะ เพื่อให้ท่านทั้งหลายประกาศพระบารมีของพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกท่านทั้งหลายให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์” 1ปต.2:9

การแสดงออกของการสรรเสริญ 2 พศด.20:19-21

19 และคนเลวี จากพงศ์พันธุ์โคฮาทและพงศ์พันธุ์คนโคราห์ ได้ยืนขึ้นถวายสรรเสริญแด่พระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งอิสราเอลด้วยเสียงอันดัง

20และเขาทั้งหลายได้ลุกขึ้นแต่เช้าและออกไปในถิ่นทุรกันดารถึงเทโคอา และเมื่อเขาออกไป เยโฮชาฟัทประทับยืนและตรัสว่า "ยูดาห์และชาวเยรูซาเล็มเอ๋ย จงฟังข้าพเจ้า จงวางใจในพระเยโฮวาห์พระเจ้าของ ท่านและท่านจะตั้งมั่นคงอยู่ จงเชื่อบรรดาผู้เผยพระวจนะของพระองค์ และท่านจะสำเร็จผล"

21และเมื่อพระองค์ได้ปรึกษากับประชาชนแล้ว พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งบรรดาผู้ที่จะร้องเพลงถวายพระเจ้า และแต่งกายด้วยเครื่องบริสุทธิ์สรรเสริญพระองค์ ขณะเมื่อเขาเดินออกไปหน้าศัตรู และว่า "จงถวายโมทนาแด่พระเจ้า เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์"
จากข้อพระคัมภีร์ข้างต้น เราพอจะมองเห็นได้ว่า
1. การสรรเสริญจะต้องไม่มีความเงียบ
1.1 มีช่วงเวลาแห่งความเงียบในที่ประชุมของการนมัสการ ไม่กี่ครั้งเท่านั้นที่เราเห็นจากพระคัมภีร์ เช่น
• เมื่อพระเมษโปดกทรงแกะตราดวงที่เจ็ด
o วว.8:1 เมื่อพระเมษโปดกทรงแกะตราดวงที่เจ็ด ความเงียบก็ครอบคลุมสวรรค์อยู่ประมาณ ครึ่งชั่วโมง
1.2คำว่า “สรรเสริญ” ในความหมายของคำ เป็นเรื่องของการแสดงออกด้วยการกระทำเป็นส่วนใหญ่ เช่น
• การโห่ร้อง
o 2ซมอ.6:15 ดังนั้นแหละ ดาวิดและพงศ์พันธุ์อิสราเอลด้วยได้นำหีบของพระเจ้าขึ้นมา ด้วยเสียงโห่ร้องและด้วยเสียงเป่าเขาสัตว์
o ศฟย.3:14 โอ บุตรีแห่งศิโยนเอ๋ย จงร้องเพลงเสียงดังโอ อิสราเอลเอ๋ย จงโห่ร้องเถิด จงเปรมปรีดิ์และลิงโลดด้วยเต็มใจของเจ้า เถิดนะ บุตรีแห่งเยรูซาเล็ม
o ศคย.9:9 ธิดาแห่งศิโยนเอ๋ย จงร่าเริงอย่างยิ่งเถิด โอ บุตรีแห่งเยรูซาเล็มเอ๋ย จงโห่ร้องดูเถิด กษัตริย์ของเธอเสด็จมาหาเธอ ทรงความยุติธรรมและความรอดพระองค์ทรงอ่อนสุภาพและทรงลา ทรงลูกลา
• การปรบมือ
o สดด.47:1 ดูก่อนชนชาติทั้งหลาย จงตบมือ จงโห่ร้องถวายพระเจ้าด้วยเสียงไชโย
• การกระโดดโลดเต้นด้วยความร่าเริงยินดี
o ลก.6:23 ในวันนั้นท่านทั้งหลายจงชื่นชม และเต้นโลดด้วยความยินดีเพราะ ดูเถิด บำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์ เพราะว่าบรรพบุรุษของเขา ได้กระทำอย่างนั้นแก่พวกผู้เผยพระวจนะเหมือนกัน
• การร้องเพลงเสียงดัง
o สดด.98:4-5 ชาวโลกทั้งสิ้นเอ๋ย จงเปล่งเสียงชื่นบานถวายแด่พระเจ้า เปล่งเป็นเสียงเพลงชื่นบานและร้องเพลงสรรเสริญ จงร้องเพลงสรรเสริญถวายพระเจ้าด้วยพิณเขาคู่ ด้วยพิณเขาคู่ คลอด้วยเสียงเพลง
o อสย.54:1 จงร้องเพลงเถิด โอ หญิงหมันเอ๋ย ผู้ไม่คลอดบุตร จงเปล่งเสียงร้องเพลงและร้องให้ดัง เจ้าผู้ไม่ได้เจ็บครรภ์ ด้วยว่าบุตรของแม่ร้างก็ยังจะมีมากกว่า บุตรของนางที่แต่งงาน พระเจ้าตรัสดังนี้
o ศฟย.3:14 โอ บุตรีแห่งศิโยนเอ๋ย จงร้องเพลงเสียงดังโอ อิสราเอลเอ๋ย จงโห่ร้องเถิด จงเปรมปรีดิ์และลิงโลดด้วยเต็มใจของเจ้า เถิดนะ บุตรีแห่งเยรูซาเล็ม
o ศฟย.3:17 พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าอยู่ท่ามกลางเจ้า เป็นนักรบผู้ประทานความมีชัย พระองค์ทรงเปรมปรีดิ์เพราะเจ้าด้วยความยินดี พระองค์จะทรงรื้อฟื้นเจ้าใหม่ ด้วยความรักของพระองค์พระองค์จะทรงเริงโลดเพราะเจ้าด้วยร้องเพลงเสียงดัง
• การเต้นรำ
o สดด.149:3 ให้เขาสรรเสริญพระนามของพระองค์ด้วยเต้นรำ ถวายเพลงแด่พระองค์ด้วยรำมะนาและพิณเขาคู่
1.3คนที่มองเห็น เรากำลังสรรเสริญพระเจ้า ก็มักจะพูดกันว่า “เกินไป” หรือ “บ้าคลั่ง” หรือ “ไม่ค่อยเหมาะสม”
• 2ซมอ.6:14 และดาวิดก็ทรงรำถวายแด่พระเจ้าด้วยสุดกำลังของพระองค์ และดาวิดมีเอโฟดผ้าป่าน คาดอยู่ที่พระองค์
• 2ซมอ.6:16 และขณะเมื่อหีบของพระเจ้าเข้ามาถึงเมืองดาวิดมีคาลราชธิดาของซาอูลก็มองออกที่ช่อง หน้าต่าง เห็นพระราชาดาวิดกระโดดโลดเต้นรำถวายแด่พระเจ้า และนางก็มีใจหมิ่น ประมาท
• 2ซมอ.6:20 และดาวิดก็ทรงกลับไปอวยพรแก่ราชวงศ์ของพระองค์ แต่มีคาลราชธิดาของซาอูลได้ ออกมาพบดาวิดและทูลว่า "วันนี้พระราชาแห่งอิสราเอลได้เกียรติยศนักหนาทีเดียวนะ เพคะ ทรงถอดฉลองพระองค์วันนี้ต่อหน้าสาวใช้ของข้าราชการ อย่างกับคนถ่อยแก้ผ้า ด้วยไม่มีความอาย"
• กจ.2:1-6 เมื่อวันเทศกาลเพ็นเทคศเต แปลว่า ที่ห้าสิบ เป็นเทศกาลภายหลังวันเริ่มเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ50วัน มาถึง จำพวกศิษย์จึงรวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ในทันใดนั้นมีเสียงมาจากฟ้าเหมือนเสียงพายุกล้าสั่นก้องทั่วตึกที่เขานั่งอยู่นั้น มีเปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้นปรากฏแก่เขากระจายอยู่บนเขาสิ้นทุกคน เขาเหล่านั้นก็ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงตั้งต้นพูดภาษาอื่นๆตามที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด มีพวกยิวจากทุกประเทศทั่วใต้ฟ้าซึ่งเป็นผู้เกรงกลัวพระเจ้า มาอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อมีเสียงอย่างนั้นเขาจึงพากันมา และฉงนสนเท่ห์เพราะต่างคนต่างได้ยินเขาพูดภาษาของตัว
2.การสรรเสริญต้องได้รับการดลใจของพระวิญญาณบริสุทธ
• คนในที่ประชุมก็ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
• คนในที่ประชุมก็ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พวกเขามีบางสิ่งบางอย่างที่แสดงออกมา ซึ่งเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยได้ยิน
• เขาพูดภาษาอื่นๆ ตามที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด
• พวกเขากล่าวถึงมหกิจของพระเจ้า นั่นคือ การสรรเสริญพระเจ้า “ชาวเกาะครีตและชาวอาระเบีย เราทั้งหลายต่างก็ได้ยินคนเหล่านี้กล่าวถึงมหกิจของพระเจ้า ตามภาษาของเราเอง "”เสียงสรรเสริญเหล่านั้นก็ดังมาก ล้นจากห้องประชุมออกไปจนถึงถนนข้างนอก สอดคล้องคล้ายในพระคัมภีร์หลายตอน เช่น
o เสียงดังมาก เมื่อพระเยซูเสด็จเข้าเยรูซาเล็ม
o ยน.12:12-13 วันรุ่งขึ้นเมื่อคนเป็นอันมากที่มาในงานเทศกาลนั้น ได้ยินว่าพระเยซูเสด็จมาถึงกรุงเยรูซาเล็ม เขาก็พากันถือทางอินทผลัมออกไปต้อนรับพระองค์ ร้องว่า "โฮซันนา {ในที่นี้เป็นข้อความแสดงการสรรเสริญ} ขอให้พระองค์ผู้เสด็จมาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า คือ พระมหากษัตริย์แห่งอิสราเอล ทรงพระเจริญ"
o เสียงดังมาก เมื่อพวกเขาข้ามทะเลแดง ( อพย.15 )
o เสียงดังมาก เมื่อโกลิอัทถูกฆ่าตายด้วยฝีมือของดาวิด
o 1ซมอ.17:52 คนอิสราเอลกับคนยูดาห์ก็ลุกขึ้นโห่ร้องไล่ติดตามคนฟีลิสเตีย ไกลไปจนถึงเมืองกัทและถึงประตูเมืองเอโครน ทหารฟีลิสเตียที่บาดเจ็บจึงล้มลงตามทางจากชาอาราอิม ไกลไปจนถึงเมืองกัทและเมืองเอโครน

การสรรเสริญตามที่พระคัมภีร์สอน
“ข้าพระองค์จะบอกเล่าพระนามของพระองค์แก่พี่น้องของข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะสรรเสริญพระองค์ท่ามกลางชุมนุมชน”
สดด.22:22

การสรรเสริญหมายถึงอะไร

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน : กล่าวคำยกย่อง เชิดชู หรือเทิดทูน กล่าวคำชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอคุณความดี
The Oxford American Dictionary : การสรรเสริญ หมายถึง
1. การแสดงออกถึงการยอมรับ หรือการยกย่องชมเชย ต่อบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2. การให้เกียรติ (พระเจ้า) ด้วยการใช้ถ้อยคำออกมา
ความเข้าใจส่วนตัวของผม การสรรเสริญเป็นการแสดงออกต่อพระเจ้าด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ในความยิ่งใหญ่ และเต็มด้วยพระบารมีของพระองค์
การสรรเสริญ ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตคริสเตียนเท่านั้น ยังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างที่สุดต่อชีวิตของเราด้วย ดาวิดชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การสรรเสริญเป็นการเข้าไปสู่การทรงสถิตของพระเจ้า

“ถึงอย่างไรพระองค์ทรงเป็นองค์บริสุทธิ์ พระองค์ประทับเหนือคำสรรเสริญของคนอิสราเอล” สดด.22:3

พระเยซูทรงสอนเราว่า การสรรเสริญควรเป็นสิ่งแรก และสิ่งสุดท้าย เมื่อเราอธิษฐานต่อพระเจ้า “9"ท่านทั้งหลาย จงอธิษฐานตามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ 10 ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลก 11 ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวัน แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในกาลวันนี้ 12 และขอทรงโปรด ยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น 13 และขออย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอให้พ้นจากซึ่งชั่วร้าย {หรือ มารร้าย} [เหตุว่าราชอำนาจ และฤทธิ์เดช และพระสิริเป็นของพระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน] {สำเนาต้นฉบับเก่าแก่หลายฉบับ ไม่มีข้อความนี้}” มธ.6:9-13

ดูเหมือนว่าการสรรเสริญเป็นกุญแจที่สำคัญมาก เป็นเหมือนสิ่งที่จะเปิดประตู เข้าไปสู่การทรงสถิตของพระเจ้า

ทำไมเราต้องสรรเสริญพระเจ้า

• พระคัมภีร์สั่งให้เราสรรเสริญ
สดด.72:15 ขอท่านผู้นั้นมีชีวิตยืนนาน ให้คนถวายทองคำเมืองเชบาแก่ท่าน ให้เขาอธิษฐานเผื่อท่านเรื่อยไป และอวยพรท่านวันยังค่ำ
สดด.113:3 ตั้งแต่ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงที่ดวงอาทิตย์ตก พระนามของพระเจ้าเป็นที่สรรเสริญ

• เนื่องจากพระเจ้าทรงสมควรจะรับการสรรเสริญ
สดด.18:3 ข้าพระองค์ร้องทูลต่อพระเจ้าผู้ทรงสมควรแก่การสรรเสริญ และข้าพระองค์ได้รับการช่วยให้พ้น จากศัตรูของข้าพระองค์

• เนื่องจากพระเจ้าทรงชอบธรรม
สดด.7:17 ข้าพเจ้าจะถวายโมทนาขอบพระคุณพระเจ้าเนื่องด้วยความชอบธรรมของพระองค์ และข้าพเจ้าจะร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระเจ้าผู้สูงสุด

• เนื่องจากพวกเรามีความยำเกรงพระองค์
สดด.22:23 ท่านผู้เกรงกลัวพระเจ้า จงสรรเสริญพระองค์ ท่านพงศ์พันธุ์ของยาโคบเอ๋ย จงถวายพระสิริแด่พระองค์ท่านพงศ์พันธุ์ทั้งสิ้นของอิสราเอลเอ๋ย จงเกรงกลัวพระองค์

• เนื่องจากพระเจ้าทรงช่วยเรา
สดด.42:5 จิตใจของข้าพเจ้าเอ๋ย ไฉนเจ้าจึงฝ่ออยู่ ไฉนเจ้าจึงกระสับกระส่ายภายในข้าพเจ้า จงหวังใจในพระเจ้า เพราะข้าพเจ้าจะถวายสดุดีแด่พระองค์อีก ผู้ทรงเป็นความอุปถัมภ์ และพระเจ้าของข้าพเจ้า

• เนื่องจากความอุปถัมภ์ของพระเจ้า
สดด.43:5 จิตวิญญาณของข้าพเจ้าเอ๋ย ไฉนเจ้าจึงฝ่ออยู่ไฉนเจ้าจึงกระสับกระส่ายภายในข้าพเจ้า จงหวังใจในพระเจ้า เพราะข้าพเจ้าจะถวายสดุดีแด่พระองค์อีก ผู้ทรงเป็นความอุปถัมภ์ และพระเจ้าของข้าพเจ้า

• เนื่องจากพระเจ้าทรงไถ่เราไว้จากลิ้นของคนชั่วร้าย
สดด.52:9 (อ่านตลอดทั้งบท) “ข้าพระองค์จะโมทนาพระคุณพระองค์เป็นนิตย์ เพราะพระองค์ได้ทรงกระทำเช่นนั้น ข้าพระองค์จะหวังใจในพระนามของพระองค์ เพราะเป็นพระนามประเสริฐ ต่อหน้าธรรมิกชนของพระองค์”

• เนื่องจากพระเจ้าทรงแก้แค้นแทนเรา
สดด.5:2 "จงถวายสาธุการแด่พระเจ้า ด้วยว่าบรรดาประมุขได้นำคนอิสราเอล และประชาชนก็สมัครใจช่วย

• เนื่องจากการสรรเสริญทำให้เราชนะความเศร้าใจ
อสย.61:3 เพื่อจัดให้บรรดาผู้ที่ไว้ทุกข์ในศิโยน เพื่อประทานมาลัยแทนขี้เถ้าให้เขา น้ำมันแห่งความยินดีแทนการไว้ทุกข์ ผ้าห่มแห่งการสรรเสริญแทนจิตใจที่ท้อถอย เพื่อคนจะเรียกเขาว่าต้นก่อหลวงแห่งความชอบธรรม ที่ซึ่งพระเจ้าทรงปลูกไว้เพื่อพระองค์จะทรงสำแดงพระสิริของพระองค์

• เนื่องจากการสรรเสริญจะนำชัยชนะมา
2พศด.20:22 และเมื่อเขาทั้งหลายตั้งต้นร้องเพลงสรรเสริญ พระเจ้าทรงจัดกองซุ่มคอยต่อสู้กับคนอัมโมน โมอับ และชาวภูเขาเสอีร์ ผู้ได้เข้ามาต่อสู้กับยูดาห์ ดังนั้นเขาทั้งหลายจึงแตกพ่ายไป

ยังมีอีกหลายประการที่เป็นเหตุผลว่า ทำไมเราต้องสรรเสริญพระเจ้า พระคัมภีร์ให้เหตุผลกับเรามากมาย เป็นสิ่งที่เรากระทำได้ทุกวัน ตลอดชีวิตของเราที่ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้ สดุดี 150 สรุปเหตุผลให้เราอย่างดีเยี่ยม

“จงสรรเสริญพระองค์ เพราะกิจการอันอานุภาพของพระองค์
จงสรรเสริญพระองค์ ตามความยิ่งใหญ่อย่างมากของพระองค์” สดด.150:2

เราสรรเสริญอย่างไร

• การสรรเสริญมาจากพระเจ้า
สดด.22:25 คำสรรเสริญของข้าพระองค์ในที่ชุมนุมชนใหญ่ มาจากพระองค์ ข้าพระองค์จะแก้บนต่อหน้าผู้ที่เกรงกลัวพระองค์

มนุษยชาติจะสรรเสริญบางสิ่งเสมอ มันอาจเป็นกีฬาที่ชอบ รถยนต์ที่รัก งาน หรืออีกหลายสิ่งหลายอย่าง ในฐานะบุตรของพระเจ้า เราควรรู้หน้าที่ที่จะต้องสรรเสริญพระองค์ ไม่ใช่สรรเสริญสิ่งอื่นๆ ในชีวิตของเรา สิ่งที่เราสรรเสริญจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เราเห็นสิ่งที่เราให้คุณค่ากับสิ่งนั้น เรามักพูดถึงสิ่งที่เราให้คุณค่ากับสิ่งนั้นเสมอ

อะไรคือสิ่งที่คุณพูดถึงเสมอ และให้คุณค่าอย่างที่สุด สิ่งใดเป็นสิ่งที่คนรอบข้างได้ยินจากเราบ่อยมากที่สุด “พระเจ้า” หรือ “สิ่งอื่นใด”

• เราต้องสรรเสริญพระเจ้า แม้ในยามที่เราไม่อยากจะสรรเสริญ
“ท่านว่า "ข้าพเจ้ามาจากครรภ์มารดาของข้าพเจ้าตัวเปล่า และข้าพเจ้าจะกลับไปตัวเปล่า พระเจ้าประทาน และพระเจ้าทรงเอาไปเสียสาธุการแด่พระนามพระเจ้า"” โยบ 1:21

แม้เราต้องสูญเสียทุกสิ่งไป โยบยังคงสรรเสริญพระเจ้า การสรรเสริญเป็นการตัดสินใจ การสรรเสริญไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความรู้สึกที่เอื้ออำนวยต่อการสรรเสริญ พระองค์ยังทรงเป็นพระเจ้าดังเดิม พระองค์ยังทรงสมควรจะได้รับการสรรเสริญต่อไป ความรู้สึกของเราไม่ได้มีอิทธิพลต่อความเป็นพระเจ้าของพระองค์แต่อย่างใด

สิ่งหนึ่งที่เป็นความผิดพลาดที่สำคัญของผู้คนในเรื่องการสรรเสริญก็คือ ความคิดที่ว่า การสรรเสริญเป็นเพียงความรู้สึกของเรา และเราสรรเสริญพระเจ้าเมื่อเราได้รับสิ่งดี ทุกสิ่งเป็นพรสำหรับเรา เป็นไปตามความตั้งใจของเรา เมื่อพระเจ้าอวยพรเรา เราก็สรรเสริญพระองค์ อย่างไรก็ตาม การสรรเสริญเป็นมากกว่านั้น ยามที่เราไม่สามารถพบพระเจ้าได้ ยามที่ทุกสิ่งไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิด จงสรรเสริญพระเจ้า ขอให้เราจำไว้ว่า การสรรเสริญเป็นมากกว่าความรู้สึกของเรา
การสรรเสริญไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา การสรรเสริญขึ้นอยู่กับความสมควรของบุคคลที่เราสรรเสริญต่างหาก

• เราต้องสรรเสริญพระเจ้าด้วยสิ้นสุดใจ

“จงสรรเสริญพระเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะโมทนาพระคุณพระเจ้าด้วยสิ้นสุดใจของข้าพเจ้าในคณะผู้เที่ยงธรรม ในชุมนุมชน” สดด.111:1

การสรรเสริญครึ่งใจ ไม่สมควรในอาณาจักรของพระเจ้า พระองค์ไม่เคยสร้างสิ่งใดครึ่งใจของพระองค์ แต่ด้วยเต็มพระทัย เนื้อหนังขโมยการสรรเสริญไปจากพระองค์ พระองค์ทรงตายเพื่อความบาปของเรา นี่เป็นพระคุณมากเพียงพอที่จะสรรเสริญพระองค์อย่างไม่จบสิ้น

การสรรเสริญหมดใจ เป็นสิ่งสมควรที่จะมอบให้กับบุคคลผู้ซึ่งมีความครบถ้วนในพระองค์เอง ไม่ใช่เพียงความคิดเท่านั้น การสรรเสริญต้องรวมถึงอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนการแสดงออกทางกายภาพของเราด้วย การสรรเสริญแท้ต้องการส่วนที่ลึกที่สุดของความรู้สึก ด้วยตระหนักถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงสามารถกระทำได้ และแสดงออกมาด้วยร่างกายภายนอกที่คนอื่นมองเห็นได้

นอกจากนี้ เราต้องระมัดระวังที่จะไม่ทำผิดพลาด ด้วยการแสดงความกระตือรือร้น ร่าเริงอย่างมากออกมา โดยปราศจากความเข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้ไหลออกมาจากความต้องการที่จะถวายเกียรติแด่พระเจ้า ความ “มันส์” อย่างเดียว ไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ว่า เป็นการสรรเสริญที่แท้จริงได้ ไม่ว่าคุณจะแสดงออกอย่างมากสักเพียงใด เครื่องมือวัดการสรรเสริญที่แท้จริง อยู่ที่จิตใจภายในที่เปี่ยมด้วยความจริงใจ ในความต้องการอยากจะให้เกียรติพระเจ้า มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น

• เราต้องสรรเสริญพระเจ้าด้วยจิตใจที่เที่ยงตรง ชอบธรรม
“ข้าพระองค์จะสรรเสริญพระองค์ด้วยใจเที่ยงตรง เมื่อข้าพระองค์เรียนรู้กฎหมายอันชอบธรรมของพระองค์” สดด.119:7

ในการสรรเสริญและนมัสการของเรา เราต้องกระทำอย่างถูกต้อง การสรรเสริญอย่างเต็มขนาด ไม่ควรมีแรงจูงใจมาจากความต้องการจะแสดงให้คนอื่นรู้ถึงสภาพจิตวิญญาณของเรา การสรรเสริญไม่ว่าจะกระทำอย่างเงียบๆ หรือส่งเสียงดัง ต้องกระทำด้วยความปรารถนาอยากให้คนอื่นเห็นความยิ่งใหญ่และพระบารมีของพระเจ้าเป็นสำคัญ

พวกฟาริสีและธรรมาจารย์ ซึ่งเป็นคนหน้าซื่อใจคด ตามที่พระเยซูคริสต์ทรงตำหนิพวกเขา ก็เป็นคนที่แสดงออกมาภายนอกอย่างตั้งใจให้คนอื่นๆ เห็นว่า พวกเขาเป็นคนเคร่งครัดในศาสนามากเพียงใด

“27 "วิบัติแก่เจ้า พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี คนหน้าซื่อใจคด เพราะว่าเจ้าเป็นเหมือนอุโมงค์ฝังศพซึ่งฉาบด้วยปูนขาว ข้างนอกดูงดงาม แต่ข้างในเต็มไปด้วยกระดูกคนตาย และสารพัดโสโครก 28 เจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้นแหละ ภายนอกแลดูเหมือนว่าเป็นคนชอบธรรม แต่ภายในเต็มไปด้วยความเท็จเทียมและอธรรม” มธ.23:27-28( อ่าน มธ.23:13-19 ด้วย )

เราต้องระมัดระวังที่จะไม่ตกอยู่ในกับดัก ด้วยการตัดสินผู้อื่นด้านจิตวิญญาณของคน ด้วยการมองดูภายนอกในวิธีที่เขานมัสการและสรรเสริญพระเจ้า การเชื่อฟังพระคำของพระเจ้า และการยอมอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจในการทรงนำของพระองค์ จะชี้ให้เห็นถึง การสรรเสริญและการนมัสการที่แท้ของบุคคลที่จิตใจของเขา เที่ยงตรง ชอบธรรม ต่อพระเจ้าที่เขานมัสการ

• เราต้องสรรเสริญพระเจ้าด้วยการแสดงออกที่พระเจ้าทรงยอมรับ
“ถ้าเจ้าทำดี เราก็จะพอใจรับเจ้ามิใช่หรือ ถ้าเจ้าทำไม่ดี บาปก็หมอบอยู่ที่ประตู อยากตะครุบเจ้าเจ้าจะต้องเอาชนะบาปนั้นให้ได้"” ปฐก.4:7
( อ่าน ข้อ 4-8 ด้วย )

คาอินถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้าซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับได้ คาอินเข้ามานมัสการอย่างถูกต้อง เขาสร้างแท่นบูชา ใช้ไฟในการถวายบูชา เข้าก้าวเข้ามาหาพระเจ้า ประสงค์ให้พระองค์พอพระทัย แต่เขาใช้พืชผักเป็นเครื่องบูชาแทนที่จะใช้เลือด เครื่องบูชาของเขาไม่ถูกต้อง
คาอินนมัสการ...แต่เป็นการนมัสการที่พระเจ้าไม่ยอมรับ

บุตรทั้งสองของอาโรน “อาบีฮู กับ นาดับ” เขาได้ถวายเครื่องหอมแด่พระเจ้า ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของพระองค์ ดูเหมือนภายนอกไม่น่าที่จะไม่เป็นที่ยอมรับได้ แต่พระเจ้าทรงเป็นผู้ตัดสินว่า เครื่องบูชาใดเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ เขาทั้งสองตายต่อหน้าพระพักตร์ของพระเจ้า เนื่องจากได้ถวายบูชาแด่พระเจ้าด้วยไฟต้องห้าม

“1 ฝ่ายนาดับกับอาบีฮูบุตรของอาโรน ต่างนำกระถางไฟของเขามา และเอาไฟใส่ในนั้น แล้วใส่เครื่องหอมลง เอาไฟที่ต้องห้ามมาเผาถวายบูชาแด่พระเจ้า ซึ่งพระองค์มิได้ทรงบัญชาให้เขากระทำเช่นนั้น
2 ไฟก็พุ่งขึ้นมาจากที่พระเจ้าประทับไหม้เขาทั้งสอง และเขาก็ตายต่อพระพักตร์พระเจ้า” ลนต.10:1-2

มันเป็นวิกฤตร้ายแรงมาก หากเราสรรเสริญพระเจ้าด้วยสิ่งซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับได้ สิ่งใดก็ตามที่เรานำมาถวายแด่พระเจ้า จำเป็นต้องถูกต้องตามที่พระคัมภีร์สอนไว้ และมาจากจิตใจที่บริสุทธิ์ และสำนึกผิด กลับใจใหม่

คาอินถวายเครื่องบูชาแปลกปลอม ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับได้ เราต้องไม่กระทำสิ่งใดที่ตกต่ำจากมาตรฐานของพระเจ้า การหลับหูหลับตาเชื่อในสิ่งที่ไม่ดูว่าพระคัมภีร์สอนว่าอย่างไร ที่เกี่ยวข้องกับการสรรเสริญนมัสการ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกยอมรับแน่นอน

อาบีฮู และนาดับ ใช้ไฟต้องห้าม ซึ่งพระเจ้าไม่ได้สั่งให้เขาทำ เป็นสิ่งผิดฉันใด เราต้องระวังอย่างมากเช่นกัน เมื่อเราเข้ามาสรรเสริญและนมัสการ ไฟที่นำมาเผาเครื่องหอมบูชา ต้องนำเอามาจากแท่นเผาบูชา (เล็งถึงการกลับใจใหม่) การสรรเสริญและนมัสการของเรา ต้องแน่ใจว่ามาจากจิตใจที่สำนึกผิด และกลับใจใหม่ด้วยความถ่อมใจต่อพระเจ้า

สดด.72:15 ขอท่านผู้นั้นมีชีวิตยืนนาน ให้คนถวายทองคำเมืองเชบาแก่ท่าน ให้เขาอธิษฐานเผื่อท่านเรื่อยไป และอวยพรท่านวันยังค่ำ

สดด.113:3 ตั้งแต่ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงที่ดวงอาทิตย์ตก พระนามของพระเจ้าเป็นที่สรรเสริญ

สดด.18:3 ข้าพระองค์ร้องทูลต่อพระเจ้าผู้ทรงสมควรแก่การสรรเสริญ และข้าพระองค์ได้รับการช่วยให้ พ้นจากศัตรูของข้าพระองค์

สดด.7:17 ข้าพเจ้าจะถวายโมทนาขอบพระคุณพระเจ้าเนื่องด้วยความชอบธรรมของพระองค์ และ ข้าพเจ้าจะร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระเจ้าผู้สูงสุด

สดด.22:23 ท่านผู้เกรงกลัวพระเจ้า จงสรรเสริญพระองค์ ท่านพงศ์พันธุ์ของยาโคบเอ๋ย จงถวายพระสิริแด่พระองค์ท่านพงศ์พันธุ์ทั้งสิ้นของอิสราเอลเอ๋ย จงเกรงกลัวพระองค์

สดด.42:5 จิตใจของข้าพเจ้าเอ๋ย ไฉนเจ้าจึงฝ่ออยู่ ไฉนเจ้าจึงกระสับกระส่ายภายในข้าพเจ้า จงหวังใจในพระเจ้า เพราะข้าพเจ้าจะถวายสดุดีแด่พระองค์อีก ผู้ทรงเป็นความอุปถัมภ์ และ พระเจ้าของข้าพเจ้า

สดด.118:21 ข้าพระองค์โมทนาพระคุณพระองค์ เพราะพระองค์ทรงตอบข้าพระองค์ และมาเป็น ความรอดของข้าพระองค์

สดด.43:5 จิตวิญญาณของข้าพเจ้าเอ๋ย ไฉนเจ้าจึงฝ่ออยู่ไฉนเจ้าจึงกระสับกระส่ายภายในข้าพเจ้า จงหวังใจในพระเจ้า เพราะข้าพเจ้าจะถวายสดุดีแด่พระองค์อีก ผู้ทรงเป็นความอุปถัมภ์ และพระเจ้าของข้าพเจ้า

สดด.52:9 ข้าพระองค์จะโมทนาพระคุณพระองค์เป็นนิตย์ เพราะพระองค์ได้ทรงกระทำเช่นนั้น ข้าพระองค์จะหวังใจในพระนามของพระองค์ เพราะเป็นพระนามประเสริฐ ต่อหน้าธรรมิกชนของพระองค์

วนฉ.5:2 "จงถวายสาธุการแด่พระเจ้า ด้วยว่าบรรดาประมุขได้นำคนอิสราเอล และประชาชนก็สมัครใจช่วย"

อสย.61:3 เพื่อจัดให้บรรดาผู้ที่ไว้ทุกข์ในศิโยน เพื่อประทานมาลัยแทนขี้เถ้าให้เขา น้ำมันแห่งความยินดีแทนการไว้ทุกข์ ผ้าห่มแห่งการสรรเสริญแทนจิตใจที่ท้อถอย เพื่อคนจะเรียกเขาว่าต้นก่อหลวงแห่งความชอบธรรม ที่ซึ่งพระเจ้าทรงปลูกไว้เพื่อพระองค์จะทรงสำแดงพระสิริของพระองค์

2พศด.20:22 และเมื่อเขาทั้งหลายตั้งต้นร้องเพลงสรรเสริญ พระเจ้าทรงจัดกองซุ่มคอยต่อสู้กับคน อัมโมน โมอับ และชาวภูเขาเสอีร์ ผู้ได้เข้ามาต่อสู้กับยูดาห์ ดังนั้นเขาทั้งหลายจึงแตกพ่ายไป
การนมัสการอย่างลึกซึ้ง

เขียนโดย Tatobi
หากเราอยู่ในฐานะที่อายุยี่สิบกว่าๆ เป็นวัยรุ่น เป็นวัยที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ที่แตกต่างออกไปจากวัยอื่นๆ ดนตรีนมัสการของคนในช่วงอายุนี้ควรเป็นอย่างไร ดนตรีของพวกเขาควรเต็มไปด้วยจังหวะเร้าใจ เป็นจังหวะที่ต้องขยับแข้งขยับขาหรือไม่? การนมัสการอย่างลึกซึ้ง หากเราอยู่ในฐานะที่อายุยี่สิบกว่าๆ เป็นวัยรุ่น เป็นวัยที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ที่แตกต่างออกไปจากวัยอื่นๆ ดนตรีนมัสการของคนในช่วงอายุนี้ควรเป็นอย่างไร ดนตรีของพวกเขาควรเต็มไปด้วยจังหวะเร้าใจ เป็นจังหวะที่ต้องขยับแข้งขยับขาหรือไม่? คำตอบในคำถามนี้คือ การจะทำสิ่งใดก็ตามในการนมัสการ จำเป็นต้องออกมาจากจิตใจภายในด้วยความจริงใจ จุดหมายปลายทางของการนมัสการนั้น ไม่ใช่การแสดงคอนเสิร์ต ไม่ใช่การแสร้งทำบางสิ่งหรืออวดอ้างความสามารถของตน ไม่ใช่เสื้อผ้าที่เราสวมใส่ แต่เป็นสิ่งที่ไหลออกมาจากจิตใจภายใน แสดงออกมาภายนอกด้วยสิ่งที่เป็นอยู่ภายในจิตใจของคุณ การนมัสการเป็นความจริงใจต่อพระเจ้า หากเราสังเกตในพระธรรมสดุดี เราจะพบผู้เขียนแสดงความจริงใจต่อพระเจ้าด้วยการขอบพระคุณ ด้วยความชื่นชมยินดีในจิตใจ หรือแม้แต่จิตใจที่แสวงหาพระองค์ ด้วยคำถามว่า “พระองค์ทรงอยู่ที่ใด” เป็นเสียงร้องออกมาจากใจที่กระหายหา และต้องการจะพึ่งพาพระเจ้า ความลึกซึ้งในการนมัสการเป็นเรื่องส่วนบุคคลกับพระเจ้า นำจิตใจเข้าไปใกล้พระองค์ แสดงออกถึงความยำเกรงพระองค์อย่างชัดเจน ในฐานะที่พระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ของเรา ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา เราก้มกราบต่อพระองค์ผู้ทรงสร้างเรา เราเข้าไปใกล้พระองค์ด้วยความรัก เทิดทูนบูชาพระองค์

ในพระคัมภีร์ใหม่ คำที่ใช้ในภาษาเดิม (ภาษากรีก) ใช้ปกติด้วยคำว่า “Proskuneo” หมายถึง “การจูบ” ซึ่งเป็นการแสดงออกของทาส หรือคนรับใช้ที่แสดงความนบนอบด้วยการก้มลงจูบที่มือนายของตนด้วยความเคารพนบนอบ หรือเป็นอาการของสุนัขที่แสดงความรักนายของมันด้วยการเลียมือนาย เป็นภาพของการแสดงความเคารพยำเกรง ประสมประสานกับการแสดงความรัก เทิดทูน และบูชา การนมัสการอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่การแสดงความรู้สึกที่ไม่ชัดเจน ผิวเผิน เป็นมากกว่าการแสดงออกอย่างเปิดเผย แต่เป็นการระบายความในใจทั้งหมดแด่พระเจ้า แสดงออกอย่างใกล้ชิดพระองค์ คุณสามารถพูดความรู้สึกในใจต่อพระองค์ทั้งหมดได้ แม้บางเรื่องที่คุณไม่สามารถบอกใครได้เลยก็ตาม และในเวลาเดียวกัน พระองค์ก็แสดงออกถึงความรู้สึกของพระองค์กับเราด้วย ในยอห์น 15:15 พระเยซูทรงตรัสว่า “เราจะไม่เรียกท่านทั้งหลายว่าบ่าวอีก เพราะบ่าวไม่ทราบว่านายทำอะไร แต่เราเรียกท่านว่ามิตรสหาย เพราะว่าทุกสิ่งที่เราได้ยินจากพระบิดาของเรา เราได้สำแดงแก่ท่านแล้ว” พระองค์ทรงตรัสถึงความใกล้ชิดในฐานะเพื่อน คุณเป็นเพื่อนของพระเจ้า และในฐานะเพื่อน พระองค์ทรงเปิดเผยพระบิดากับเรา ทรงแบ่งปันสิ่งที่อยู่ในพระทัยของพระเจ้ากับเรา คงจะมีบางสิ่งที่เราสามารถบอกคนทั่วไป แต่บางสิ่งเราก็บอกได้เฉพาะเพื่อนของเราเท่านั้น พระเยซูก็เช่นกัน พระองค์ทรงสำแดงบางสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องทั่วๆ ไปกับเรา ในฐานะผู้ทรงสร้างโลก พระองค์ทรงสำแดงการทรงสร้างของพระองค์กับทุกคน

ในโรมบทที่ 1 บอกเราว่า เขาทั้งหลายไม่มีข้อแก้ตัวเลย เพราะว่าพระองค์ได้แจ้งให้พวกเขาทราบแล้ว แต่ก็ยังมีข้อมูลที่สำคัญกว่านั้นที่แจ้งให้ทุกคนทราบ แต่จะมีบางคนเท่านั้นที่ตระหนักความจริง นั่นคือการที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปมนุษยชาติ ใน 1 โครินธ์ บอกเราว่า คนบางคนก็เห็นว่าเรื่องกางเขนเป็นเรื่องโง่เขลา แต่สำหรับพวกเราที่กำลังจะรอดก็เห็นว่า เป็นฤทธิเดชของพระเจ้า ในฐานะของเพื่อน พระองค์ทรงเปิดเผยกับเรา และจะเปิดเผยความล้ำลึกของพระเจ้ามากขึ้นๆ เรื่อยไป เป็นสัดส่วนกับความใกล้ชิดที่เรามีกับพระองค์

ถ้าคุณสนิทกับใครสักคน คุณก็เพียงแต่กระซิบที่หู เขาก็จะฟังคุณ โดยไม่จำเป็นต้องตะโกนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ก็คงยังต้องมีการตะโกน หรือส่งเสียงดังได้ต่อไปแม้มีความสนิทสนม : บทเพลงแห่งความลึกซึ้งกับพระเจ้านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงเบาๆ หรือช้าๆ เสมอไป อาจเป็นเพลงเสียงดัง หรือเพลงเร็วๆ ก็ได้ เรากำลังเติบโตขึ้นในการนมัสการของเรา เนื่องจากพระลักษณะและความเป็นพระเจ้านั้นกว้างใหญ่ ไร้ขีดจำกัด และเต็มไปด้วยความล้ำลึกในพระองค์เกินความเข้าใจของเรา เราจึงจำเป็นต้องเติบโตขึ้น และแสวงหาการที่จะพบพระองค์ได้ในการนมัสการต่อไป โดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งเราเรียกว่า “การนมัสการในการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์” การทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้นขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดอย่างลึกซึ้งกับพระเจ้า คุณจำเป็นต้องเข้าไปใกล้และฟังพระสุรเสียงของพระองค์...พระองค์อาจใช้วิธีกระซิบบอก หรืออาจใช้เสียงดังก็ได้ อย่างไรก็ตามในฐานะสหาย พระองค์มักใช้วิธีกระซิบบอกกับคุณ ถ้าคุณต้องการจะร้องเพลง หรือเล่นดนตรี หรือร่ายรำในพระ-วิญญาณด้วยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ จำเป็นที่คุณต้องเข้าไปใกล้พระเจ้า เพื่อคุณจะได้ยินเสียงของพระองค์ และคุณจะกลายเป็นกระบอกเสียงของพระองค์ การเผยพระวจนะเป็นสิ่งซึ่งเปิดเผยพระเยซูคริสต์ ในวิวรณ์บอกเราว่า “คำพยานกล่าวถึงพระเยซูนั้นเป็นหัวใจของการเผยพระวจนะ” (วว.19:10)

การสำแดงพระเยซูคริสต์กระทำได้ด้วยหลายๆ ทาง ดัวยการร้องเพลง ด้วยการร่ายรำ ด้วยเสียงดนตรี และด้วยการพูดคำพยาน บทเพลงที่นับว่าเป็นเพลงโดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ คือ บทเพลงของ พระเจ้า หรือบทเพลงของการเผยพระวจนะ ซึ่งเป็นผลต่อจิตใจของผู้ฟังอย่างมาก ที่จะนำคนให้เข้ามาใกล้พระเยซูมากขึ้น บทเพลงของการเผยพระวจนะอาจเป็นเพลงเก่า แต่คุณรู้สึกว่าเป็นบทเพลงที่พระเจ้าทรงนำให้เปิดเผยองค์พระเยซูคริสต์ในขณะนั้น เป็นบทเพลงที่จะนำเราเข้าไปอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์มากขึ้น เป็นเพลงที่เปิดเผยพระทัยของพระเจ้า บางครั้งอาจเป็นบรรยากาศเงียบๆ ก็ได้ อาจเป็นบรรยากาศอธิษฐาน คร่ำครวญในฝ่ายวิญญาณ แต่มีผลเสมอในการนำเราเข้าไปใกล้พระเจ้าอย่างลึกซึ้งมากขึ้นกับการถวายเกียรติแด่พระเยซู การนมัสการโดยการทรงนำของพระวิญญาณไม่ใช่เรื่องใหม่ ในพระธรรมสดุดีเต็มไปด้วยสิ่งนี้ เป็นการเปิดเผยให้เห็นถึงกาลอนาคต ซึ่งจะเปิดเผยให้เห็นองค์พระคริสต์ซึ่งจะมาภายหน้า (สดด.110; 22; 96; 97; 98; 99) ใน 1พกษ.3:15 เป็นตัวอย่างของการเล่นเครื่องดนตรีโดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ “และซา-โลมอนก็ตื่นบรรทม และ ดูเถิด เป็นพระสุบิน แล้วพระองค์ก็เสด็จมาที่กรุงเยรูซาเล็ม และประทับยืนอยู่หน้าหีบพันธสัญญาของพระเจ้า และถวายเครื่องเผาบูชาและเครื่องศานติบูชา และพระราชทานเลี้ยงแก่บรรดาข้าราชการของพระองค์” ในที่ประชุมนมัสการคุณอาจมีประสบการณ์เช่นนี้ได้ ขณะที่เราเล่นเครื่องดนตรี การสำแดงของพระเจ้าก็เข้ามาในเรา เพียงเมื่อเราเล่นเครื่องดนตรีเท่านั้น

เราควรมีความคาดหวังว่า เราจะเติบโตขึ้นในการมีประสบการณ์กับพระเจ้าในการทรงสำแดงของพระองค์ เมื่อเราได้ยินเสียงดนตรี เราก็สัมผัสได้ถึงพระทัยของพระเจ้าในบางด้าน อีกด้านหนึ่งในฐานะที่เราเป็นนักดนตรี เราก็ต้องเติบโตขึ้นกับพระเจ้า จนเราสามารถเป็นภาชนะของพระองค์ ให้พระองค์ใช้เราเป็นอุปกรณ์ผ่านความสามารถ ทักษะของเรา ที่จะสำแดงพระทัยของพระองค์ ในพระคัมภีร์เดิม เราพบว่า บุตรหลานของอาสาฟ ของเฮมาน และของเยดูธูน เป็นผู้เผยพระวจนะด้วยเครื่องดนตรี ด้วยพิณ ด้วยพิณใหญ่ และด้วยฉาบ (1พศด.25:3) ในการเล่นดนตรีและร้องเพลง ในการทรงนำของพระวิญญาณ คุณจำเป็นต้องมีทักษะอย่างเพียงพอ ทักษะนี้มาจากการฝึกซ้อมจนชำนาญ เป็นการเปิดโอกาสให้พระเจ้าทรงใช้คุณกว้างขวางมากขึ้น จนไม่มีความจำกัด หรืออุปสรรคที่จะเคลื่อนไปตามพระทัยของพระองค์ได้ คุณต้องจำใจว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างดนตรี และพระองค์ทรงเข้าใจทักษะดนตรีทุกชนิด และพระองค์ประสงค์ใช้คุณเป็นผู้เล่นแทน คุณจึงต้องพัฒนาทักษะของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การเล่นดนตรีและร้องเพลงในพระวิญญาณ เปรียบเหมือนกับการเดินบนเชือกที่ขึงไว้ มีกฎการเดินบนเชือกก็คือ การไม่มองดูเบื้องล่าง ให้มองขึ้นสูงสู่เบื้องบนและมองดูเชือก ดังนั้น จงมองดูที่พระเจ้าและเครื่องดนตรีของคุณ รวมใจไปที่พระเจ้า คุณอาจหลับตาเวลาเล่นดนตรีประเภทนี้ เพื่อให้ใจมีความจดจ่อในฝ่ายวิญญาณ อย่ามีความวิตกกังวล เคลื่อนต่อไป ขอพระเจ้าทรงอำนวยพรให้สามารถเติบโตขึ้น จนพระองค์ใช้คุณให้เป็นผู้เผยพระวจนะด้วยการร้องเพลงและเล่นดนตรีของพระองค์ในที่สุด...อาเมน

ทที่ 8 การร่ายรำกับการเจิม

อาจมีหลายคนเคยสงสัย และตั้งคำถามว่า
เราจำเป็นต้องมีการเจิมในการร่ายรำหรือไม่ เพราะอะไร ?
คำตอบก็คือ การเจิมเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด สำหรับการรับใช้ทุกประเภทไม่เป็นเพียงร่ายรำเท่านั้น เราคงไม่คิดว่าเราจะขึ้นปรนนิบัติทุกอาทิตย์ โดยอาศัยแต่ความสามารถในการเต้น และการฝึกซ้อมอย่างหนักเท่านั้น
พระคัมภีร์ได้กล่าวถึงการเจิมไว้มากมาย เช่น
อสย.61 : 4 “พระวิญญาณแห่งพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้เพื่อนำข่าวดีมายังผู้ที่ทุกข์ใจ พระองค์ทรงใช้ข้าพเจ้ามาให้เล้าโลมคนที่ชอกช้ำระกำใจ และร้องประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย และบอกการเปิดเรือนจำออกให้แก่ผู้ที่ถูกจำจอง เพื่อการประกาศปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า และวันแห่งการแก้แค้นของพระเจ้าของเรา เพื่อเล้าโลมบรรดาผู้ที่ไว้ทุกข์....”
กจ.1 : 8 “แต่ท่านทั้งหลายจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดช เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเหนือท่านและท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่งแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก”
1 คร.4 : 20 “เพราะว่าแผ่นดินของพระเจ้ามิใช่เรื่องของคำพูด แต่เป็นเรื่องฤทธิ์เดช”
1 ยน.2 : 20 “และท่านทั้งหลายได้รับการทรงเจิมจากองค์ผู้บริสุทธิ์แล้ว และท่านทุกคนก็มีความรู้”
1 ยน. 2 : 27 “การเจิมได้สอนเราให้รู้ทุกสิ่ง”
ยน.14 : 26 พระวิญญาณนั้นเป็นครูของเรา พระองค์ช่วยให้เราสามารถระลึกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พระเจ้าตรัสแก่เราได้
1 ยน. 2 : 20 ให้เราปรารถนาและรอคอยการเจิมจากพระเจ้า
ดังนั้นการรับใช้ด้านร่ายรำ จึงต้องการการเจิมอย่างยิ่ง เพราะถ้าปราศจากการเจิม การปรนนิบัตินั้นก็เป็นเพียงเนื้อหนัง พระเยซูกล่าวว่า เราสามารถจะกระทำกิจที่ยิ่งใหญ่ กว่าที่พระองค์ทรงทำได้โดยพึ่งพาพระวิญญาณ

แม้แต่พระเยซูก็ต้องการฤทธิ์อำนาจจากการเจิมของพระเจ้า ที่จะทำให้พระราชกิจของพระองค์ที่กระทำบนโลกนี้ให้สำเร็จ แล้วเราเป็นผู้ใดที่ไม่ต้องการการเจิม
สำหรับคนที่มีพื้นฐานการเรียน หรือฝึกฝนมาอย่างชำนาญ ก็ต้องระมัดระวังที่อย่าพึ่งพาพื้นฐานการฝึกฝนมากไปกว่าการพึ่งพาพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะโดยความสามารถที่ปราศจากการเจิม มันไม่มีผลต่อจิตวิญญานคนเลย มันอาจจะดูสวยงามแค่นั้น และจะทำให้คนเข้าใกล้เนื้อหนังไม่ใช่พระเจ้า
สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานการฝึกฝนมาก่อน แต่ได้รับของประทานในความสามารถตามธรรมชาติ ก็จงอย่าเย่อหยิ่ง เพราะคุณก็ต้องการพระวิญญาณเช่นกัน
นักร่ายรำต้องแสวงหาการเจิมโดยการขอจากพระเจ้า และเคลื่อนไหวไปตามการเจิมนั้น ไม่เช่นนั้น การร่ายรำนั้นอาจจะดูดี และอาจจะสัมผัสอารมณ์ความรู้สึกของคนได้ แต่จะแตะไม่ถึงจิตวิญญาณ ไม่มีคุณค่าอย่างคงทนถาวรจนถึงแผ่นดินสวรรค์
เข้าใจการ นมัสการและทีม นมัสการมากขึ้น

" 1. การนมัสการมีความสำคัญอย่างไร "
* การนมัสการทำให้คนใกล้ชิดพระเจ้า ได้ยินเสียงพระเจ้า ให้มีกำลังรวมทั้งทำให้มีชีวิตเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะรับใช้ด้วยความสดใหม่ ที่มีฤทธิ์เดช และการทรงสถิตของพระเจ้า ทำให้ใจคนเชื่อฟังพระเจ้ามากขึ้น และทำให้เรามีความเชื่อมากขึ้น เพราะเมื่อเราพบพระเจ้าเป็นการส่วนตัว พระเจ้าจะทำให้ใจของเรามั่นคงเข้มแข็ง

" 2. การรับใช้ในทีมนมัสการแตกต่างจากการรับใช้ในส่วนหรือไม่ "
*แตกต่างที่ว่าการรับใช้ในทีมนั้นนอกจากการอภิบาลดูแลคน และการบริหารงานต่างๆที่ทำเหมือนในส่วนแล้ว ยังต้องมีเวลาไปเรียนเพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ และต้องซ้อมทั้งส่วนตัว และส่วนรวมด้วย ดังนั้นจึงต้องพยายามรักษาทั้งชีวิตพร้อมการพัฒนาทักษะด้วย

" 3. ทีมนมัสการ มองดนตรี ในการนมัสการอย่างไร "
*ดนตรีจะมีฤทธิ์อำนาจปลดปล่อยและแตะต้องคนได้ต้องมาจากคนที่มีชีวิตที่มีฤทธิ์อำนาจจากพระเจ้า ดนตรีเป็นเพียงอุปกรณ์ที่จะนำคนไปหาพระเจ้า แต่วิญญาณที่อยู่เบื้องหลังดนตรีจะเป็นผู้กำหนดบรรยากาศการนมัสการ หากทักษะไม่พอคนเล่นดนตรีก็จะมัวกังวลและไม่พบพระเจ้า จึงมีผลทำให้คนอื่นไม่พบพระเจ้าด้วย ดังนั้นดนตรีที่ดีก็จะไม่เป็นอุปสรรคแต่เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คนในคริสตจักรมีความสดใหม่ในการพบพระเจ้า

" 4. ลักษณะของคนที่จะนมัสการได้อย่างลึกซึ้ง ควรจะต้องมีคุณสมบัติ หรือ ต้องปฏิบัติ หรือ ต้องปฏิบัติอย่างไร "
*คำว่า WORSHIP มาจากรากศัพท์คำว่า WORTHSHIP หมายถึงการเห็นคุณค่า ดังนั้น การนมัสการคือการเห็นคุณค่าพระเจ้า จึงแสดงออกเป็นชีวิตที่แสวงหาพระเจ้า หิวกระหายที่จะรู้จักพระเจ้า เชื่อฟังพระเจ้า คนที่จะนมัสการพระเจ้าอย่างแท้จริงนั้น ต้องมีพระคำและมีความจริงใจต่อพระเจ้า

" 5. คุณสมบัติของนักดนตรี ที่รับใช้เพื่อการนมัสการ ควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง "
*มีชีวิตเหมือนคน เลวี ปุโรหิต สวมชุดสีขาว คือชีวิต บริสุทธิ์ โปร่งใส รับคำสอนการตักเตือนได้ เชื่อฟัง ตั้งใจ เป็นแบบอย่างในทุกทาง มีท่าทีที่ถูกต้อง คือการปรนนิบัติพระเจ้าและพี่น้อง ถวายเกียรติ แด่พระเจ้า ไม่ใช่แสวงหาชื่อเสียงหรือการนิยมชมชอบจากมนุษย์

" 6. ทีมนมัสการมีกิจกรรมอย่างอื่นอะไรบ้างหรือเปล่า นอกเหนือจากการซ้อมดนตรี และใช้เวลาในด้านต่างๆอย่างไร "
* มีไปเยี่ยมทีมนมัสการขง ครน. ซึ่ง ทีม sacrifice ของเรารับผิดชอบ คจ.ลพบุรี คจ.นนทบุรี และ คจ.สมุทรสาคร ซึ่งได้ไปสอนพระคัมภีร์ ด้านการนมัสการ รวมทั้งจัดอบรม workshop เพื่อพัฒนา นักร้อง นักดนตรี ของทีม ครน. มีการจัด retreat ของทีมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ สร้างความผูกพันกันในทีมเพื่อเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการรับใช้พระเจ้ามากขึ้น

" 7. ทีมนมัสการ มองการนมัสการ อย่างไรบ้าง "
* การนมัสการไม่ใช่เพียงแต่การร้องเพรงวันอาทิตย์ แต่หมายถึง life style คือชีวิตประจำวัน ในระหว่างสัปดาห์ที่เรามีความสัมพันธ์กับพระเจ้า โดยการร้องเพลง เล่นดนตรีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึงความรักและการเห็นคุณค่าของพระเจ้าในชีวิตของเรา


ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ คืออะไร? ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ เป็นของประทานสำหรับปัจจุบันนี้หรือไม่?

คำถาม: ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ คืออะไร? ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ เป็นของประทานสำหรับปัจจุบันนี้หรือไม่?

คำตอบ: ปรากฏการณ์ครั้งแรกเกี่ยวกับการพูดภาษาแปลก ๆ เกิดขึ้นในวันเทศกาลเพนเทคศเต ในหนังสือกิจการ 2:1-4 ในตอนนั้นพวกอัครทูตออกไปแบ่งปันพระกิตติคุณกับฝูงชนด้วยการพูดกับพวกเขาด้วยภาษาท้องถิ่น “เราทั้งหลายต่างก็ได้ยินคนเหล่านี้กล่าวถึงมหกิจของพระเจ้าตามภาษาของเราเอง” (กิจการ 2:11) คำว่า “ภาษาแปลก ๆ” ในภาษากรีกแปลตรงตัวว่า “ภาษาต่าง ๆ” ดังนั้นของประทานแห่งการพูดภาษาแปลก ๆ คือการพูดด้วยภาษาที่คนพูดไม่รู้จักแต่คนฟังรู้จักเพื่อให้คนฟังเข้าใจเพราะเป็นภาษาของเขาเอง ใน 1 โครินธ์ บทที่ 12-14 เมื่อท่านอาจารย์เปาโลพูดถึงของประทานที่น่าอัศจรรย์ ท่านออกความเห็นว่า “นี่แหละพี่น้องทั้งหลาย ถ้าข้าพเจ้ามาหาท่านและพูดภาษาต่างๆ จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านเล่า เว้นเสียแต่ข้าพเจ้าจะพูดกับท่านโดยคำวิวรณ์ หรือโดยความรู้ หรือโดยคำพยากรณ์ หรือโดยการสั่งสอน” (1 โครินธ์ 14:6) ตามคำพูดของท่านอาจารย์เปาโล และตามความเห็นที่สอดคล้องกับเรื่องการพูดภาษาแปลก ๆ ที่กล่าวไว้ในหนังสือกิจการ การพูดภาษาแปลก ๆ มีประโยชน์สำหรับคนที่ฟังพระวจนะของพระเจ้าในภาษาของเขาเอง แต่ไร้ประโยชน์สำหรับคนอื่น – นอกจากมันจะได้รับการแปล

คนที่มีของประทานในการแปลภาษาแปลก ๆ (1 โครินธ์ 12:30) จะสามารถเข้าใจว่าคนที่พูดภาษาแปลก ๆ นั้นกำลังพูดว่าอะไรแม้ว่าเขาจะไม่รู้จักภาษาที่กำลังถูกพูดอยู่ก็ตาม แล้วเขาก็จะแปลภาษาที่คนอีกคนหนึ่งกำลังพูดให้ทุกคนฟัง “เหตุฉะนั้นให้คนที่พูดภาษาต่างๆอธิษฐานว่า เขาจะสามารถแปลได้ด้วย” (1 โครินธ์ 14:13) ข้อสรุปของท่านอาจารย์เปาโลเกี่ยวกับภาษาแปลก ๆ ที่ไม่ได้รับการแปลมีพลังมาก “แต่ว่าในคริสตจักร ข้าพเจ้าพอใจที่จะพูดสักห้าคำด้วยความเข้าใจ เพื่อเสียงของข้าพเจ้าจะสั่งสอนคนอื่นด้วย ดีกว่าที่จะพูดหมื่นคำเป็นภาษาต่างๆ” (1 โครินธ์ 14:19)

ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ยังใช้ได้ในปัจจุบันหรือไม่? ข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 13:8 กล่าวว่าของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ถูกเลิกราไปแล้ว แต่พระคัมภีร์โยงการเลิกรานั้นไปสู่ “ความสมบูรณ์” ที่จะมาถึงใน 1 โครินธ์ 13:10 มีบางคนชี้ไปถึงความแตกต่างระหว่างภาษาที่ใช้ในการเผยพระวจนะ และความรู้ที่ “จะเสื่อมสูญไป” กับภาษาแปลก ๆ ที่จะ “มีเวลาเลิกราไป” ว่าเป็นหลักฐานว่าการพูดภาษาแปลก ๆ จะถูกเลิกราไปก่อนที่ “ความสมบูรณ์” จะมาถึง แม้ว่านี่จะเป็นไปได้ แต่ข้อพระคัมภีร์ไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจน บางคนชี้ไปที่ข้อพระคัมภีร์เช่น อิสยาห์ 28:11 และ โยเอล 2:28-29 ว่าการพูดภาษาแปลก ๆ เป็นหมายสำคัญที่แสดงถึงคำพิพากษาของพระเจ้าที่จะมาถึง 1 โครินธ์ 14:22 บอกว่าภาษาแปลก ๆ เป็น “หมายสำคัญสำหรับผู้ไม่เชื่อ” ตามข้อโต้แย้งนี้ ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ คือ การเตือนพวกยิวว่าพระเจ้ากำลังจะทรงพิพากษาคนอิสราเอลเนื่องจากพวกเขาปฏิเสธพระเยซูคริสต์ในฐานะพระเมสสิยาห์ ดังนั้น เมื่อพระเจ้าทรงพิพากษาชนชาติอิสราเอลจริง ๆ (โดยการทำลายกรุงเยรูซาเล็มด้วยชาวโรมันในปี ค.ศ 70) ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ย่อมไม่ความจำเป็นอีกต่อไป แม้ว่ามุมมองนี้มีความเป็นไปได้ และแม้ว่าวัตถุประสงค์เดิมของการพูดภาษาแปลก ๆ จะสำเร็จลง แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องถูกหยุดลงด้วย พระคัมภีร์ไม่ได้สรุปว่าของประทานแห่งการพูดภาษาแปลก ๆ ถูกเลิกราไปแล้ว

ในเวลาเดียวกัน หากของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ยังคงใช้การได้อยู่ในคริสตจักรในปัจจุบัน มันจะต้องถูกใช้อย่างสอดคล้องกับพระคัมภีร์ และจะต้องเป็นภาษาจริง ๆ และพอเข้าใจได้ (1 โครินธ์ 14:10) มันจะต้องเป็นภาษาที่สื่อพระวจนะของพระเจ้าให้กับคนอีกภาษาหนึ่ง (กิจการ 2:6-12) มันจะต้องสอดคล้องกับพระบัญชาที่พระเจ้าทรงให้ไว้ผ่านท่านอาจารย์เปาโล “ถ้าผู้ใดจะพูดภาษาต่างๆ จงให้พูดเพียงสองคนหรืออย่างมากที่สุดก็สามคน และให้พูดทีละคน และให้อีกคนหนึ่งแปล แต่ถ้าไม่มีผู้ใดแปลก็ให้คนเหล่านั้นอยู่เงียบๆในที่ประชุมคริสตจักร และให้พูดกับตัวเอง และทูลต่อพระเจ้า” (1 โครินธ์ 14:27-28) มันจะต้องสอดคล้องกับข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 14:33 “เพราะว่าพระเจ้าไม่ใช่ผู้ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย แต่ทรงเป็นผู้ก่อให้เกิดสันติสุข เหมือนที่ได้เกิดขึ้นในบรรดาคริสตจักรแห่งวิสุทธิชนนั้น”
แน่นอนที่สุดว่าพระเจ้าทรงสามารถที่จะให้ของประทานแห่งการพูดภาษาแปลก ๆ กับใครก็ได้เพื่อให้เขาสื่อกับคนอีกคนหนึ่งด้วยภาษาอีกภาษาหนึ่ง พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงยิ่งใหญ่สูงสุดในการแจกจ่ายของประทานฝ่ายวิญญาณ (1 โครินธ์ 12:11) ลองวาดภาพดูว่ามันจะเกิดประโยชน์กับมิชชันนารีมากแค่ไหนถ้าพวกเขาไม่ต้องเข้าโรงเรียนเรียนภาษาท้องถิ่น หรือถ้าพวกเขาสามารถพูดกับผู้คนด้วยภาษาท้องถิ่นได้เลย แต่ดูเหมือนว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงทำเช่นนั้น ในปัจจุบันภาษาแปลก ๆ ดูเหมือนจะไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนอย่างที่เกิดในสมัยพันธสัญญาใหม่ แม้ว่ามันจะมีประโยชน์มากก็ตาม ผู้เชื่อส่วนใหญ่ที่บอกว่าเขาใช้ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ไม่ได้ทำอย่างสอดคล้องกับที่ข้อพระคัมภีร์บอกไว้ข้างต้น ความจริงเหล่านี้นำไปสู่ข้อสรุปว่าของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ได้หยุดไปแล้ว หรืออย่างน้อยหายากที่เป็นไปตามแผนของพระเจ้าสำหรับคริสตจักรในปัจจุบัน

ผู้ที่เชื่อในของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ว่าเป็น “ภาษาแห่งการอธิษฐาน” เพื่อให้ตัวเองจำเริญขึ้น ได้แง่คิดมาจากข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 14:4 และ/หรือ 14:28 “ฝ่ายคนที่พูดภาษาต่างๆนั้นก็ทำให้ตนเองเจริญฝ่ายเดียว แต่ผู้ที่พยากรณ์นั้นย่อมทำให้คริสตจักรจำเริญขึ้น” ตลอดบทที่ 14 ท่านอาจารย์เปาโลเน้นถึงความสำคัญของการแปลภาษาแปลก ๆ (ดู 14:5-12) สิ่งที่ท่านอาจารย์เปาโลพูดถึงในข้อ 4 คือ “ถ้าท่านพูดภาษาแปลก ๆ โดยไม่มีการแปล ก็เท่ากับว่าท่านไม่ได้ทำอะไรนอกจากทำให้ตนเองจำเริญขึ้น ทำให้ตัวเองดูเหมือนว่าเข้าลึกฝ่ายวิญญาณมากกว่าคนอื่น หากท่านพูดภาษาแปลก ๆ แล้วมีการแปล ท่านก็ทำให้คนอื่นจำเริญขึ้น” ไม่มีที่ไหนในพันธสัญญาใหม่ที่สั่งไว้อย่างเจาะจงเกี่ยวกับการ “อธิษฐานในภาษาแปลก ๆ” ไม่มีที่ไหนในพันธสัญญาใหม่บอกวัตถุประสงค์ของการ “อธิษฐานในภาษาแปลก ๆ” หรือพูดอย่างจำเพาะเจาะจงถึงใครที่ “อธิษฐานในภาษาแปลก ๆ” นอกจากนั้น หาก “ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ” มีไว้เพื่อทำให้ตัวเองจำเริญขึ้น มันจะไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับคนที่ไม่มีของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ หรือ ที่เขาจะไม่จำเริญขึ้น? 1 โครินธ์ 12:29-30 แสดงให้เห็นชัดเจนว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ

________________________________________

มีคำถามเป็นการบ้าน 2 ข้อ
สมัยไวกิ้งเมื่อก่อนนี้ หมอผีบอกพระราชาว่า เขามีเครื่องมือที่สามารถบอกทิศทางในการเดินเรือได้ พระราชาไม่เชื่อ เวลาต่อมา เกิดสงครามขึ้น หมอผีได้พาเจ้าชายลงเรือหนีออกมา หลงทางอยู่ในหนองน้ำที่มีหมอกลงจัด หมอผี(ผู้หญิง) ได้เอาเข็มเย็บผ้าที่เป็นแม่เหล็กอ่อนๆ มาแทงหนีบอยู่กับใบไม้ใบหนึ่ง แล้วเอาใบไม้ลอยน้ำ เข็มก็ชี้ไปทางเหนือ หมอผีก็รู้ทิศทางว่าตัวเองจะพายเรือไปทางไหน ปัจจุบันเรารู้กันว่า มันคือเข็มทิศนี่เอง แต่บางคนในสมัยก็ไม่เชื่อ เช่นเดียวกันคนในปัจจุบัน ก็ไม่เชื่อบางอย่างกำลังจะบอกกับพวกเขา
คำถามข้อแรกในคือ สนามแม่เหล็กโลก เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือ เกิดขึ้นจากอะไร
คำถามนี้ เป็นคำถามวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ไม่ต้องหาในพระคัมภีร์ ให้ไปถามพวกด๊อกเตอร์ดู ที่ถามเพราะเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อ ความไม่เชื่อ เมื่อข้าพเจ้าจะเฉลยคำตอบในครั้งหน้า บางคนก็ไม่เชื่อคำตอบนี้
คำถามข้อที่ 2 คือ การบัพติศมามีกี่อย่าง หรือ กี่แบบ , อะไรบ้าง
คำถามข้อนี้ เกี่ยวกับกับพระคัมภีร์และคำเทศนาโดยตรงในวันนี้ ความเชื่อที่แตกต่างกัน , ความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน ทำให้คำตอบของแต่คนแตกต่างกัน
พระวิญญาณบริสุทธิ์ ตอนที่ 1 ครั้งก่อน ได้กล่าวถึง ตรีเอกานุภาพ พระเจ้า 3 ใน 1 เดียว ไม่ใช่พระเจ้ามี 3 , ไม่ใช่พระเจ้าประกอบด้วย 3 ได้กล่าวถึง พระราชกิจของพระบิดา พระราชกิจของพระเยซูคริสต์ และเมื่อพระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ อยู่กับสาวกอีก 40 วัน ก็เสด็จสู่สวรรค์ และ พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้เสด็จลงมาเริ่มต้นประกอบพระราชกิจในวันเพนเตครอส (Pentecost) พระราชกิจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะเสร็จสิ้น ในวันที่พระเยซูคริสต์เสด็จมาครั้งที่ 2 เฟสแรก (หรือตอนช่วงแรก)
พระวิญญาณบริสุทธิ์ ตอนที่ 2
การบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าจะไม่ใช้คำว่า ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ คำว่า โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะจะมีความหมาย หรือ ทำให้เข้าใจที่ไม่ตรงกับความจริงนัก คำว่า ด้วย เราอาจเข้าใจว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ มาเป็นผู้ประกอบพิธี คำว่า โดย เราอาจเข้าใจว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นผู้กระทำพิธี
จอห์นบัพติสโต หรือ จอห์นบัพติศมา เป็นผู้เอ่ยเรื่องบัพติศมาเป็นคนแรกในพระคัมภีร์ ดู มธ 3:11 , มก 1:8 , ลก 3:16 เราให้เจ้าทั้งหลายรับบัพติศมาด้วยน้ำ แสดงว่ากลับใจใหม่ก็จริง แต่พระองค์ผู้จะมาภายหลังเรา ทรงมีอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่าเราอีก ซึ่งเราไม่คู่ควรแม้จะถอดฉลองพระบาทพระองค์ พระองค์จะทรงให้เจ้าทั้งหลาย รับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และด้วยไฟ (I indeed baptize you with water unto repentance. but he that cometh after me is mightier than I, whose shoes I am not worthy to bear: he shall baptize you with the Holy Ghost, and with fire)
พระเยซูทรงตรัสใน กจ 1:4-5 และ กจ 11:16 'ยอห์นได้ให้รับบัพติศมาด้วยน้ำ แต่ท่านทั้งหลายจะรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ (John indeed baptized with water; but ye shall be baptized with the Holy Ghost.)
คำว่า บัพติศมา (baptize) เป็นภาษากรีก ที่ไม่มีคำแปล แต่มีความหมายว่า จุ่ม , จม , รวม (immerse) เราเข้าใจความหมายอีกว่า หมายถึงการชำระ
1 คร 12:13 For by one Spirit are we all baptized into one body เราทั้งหลายได้รับบัพติศมาโดยพระวิญญาณองค์เดียวเข้าเป็นกายเดียวกัน และพระวิญญาณองค์เดียวนั้นซาบซ่านอยู่ (เข้าเป็นกายวิญญาณหนึ่งเดียว)
กท 3:27 เพราะเหตุว่า คนที่รับบัพติศมาเข้าร่วมในพระคริสต์แล้ว ก็จะสวมชีวิตพระคริสต์
การบัพติศมาในน้ำ หรือ ด้วยน้ำ เป็นการบัพติศมาทางกายภาพ เราถูกฝังร่วมกับพระคริสต์ในน้ำ ตัวเก่าของเราถูกตรึง และถูกฝังแล้ว และขึ้นมาจากน้ำ เป็นการฟื้นขึ้นมาจากความตาย
รม 6:3-4 ท่านไม่รู้หรือว่า เราทั้งหลายที่ได้รับบัพติศมาเข้าในพระเยซูคริสต์ ก็ได้รับบัพติศมานั้น เข้าในความตายของพระองค์ ๔. เหตุฉะนั้น เราจึงถูกฝังไว้กับพระองค์แล้ว โดยการรับบัพติศมาเข้าส่วนในการตายนั้น เพื่อว่าเมื่อพระคริสต์ได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตาย โดยเดชพระสิริของพระบิดาแล้ว เราก็จะได้ดำเนินชีวิตใหม่ด้วยเหมือนกัน
บัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นการบัพติศมาทางวิญญาณ
มนุษย์คนหนึ่ง จะเป็นส่วนหนึ่งในพระกายของพระคริสต์ ก็ต่อเมื่อเขาได้บังเกิดใหม่
การได้บังเกิดใหม่ เมื่อมนุษย์ผู้นั้นรับเชื่อ และ บัพติศมาในน้ำ นี่คือ ได้รับความรอด
รม 8:9 ผู้ใดไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์ ผู้นั้นก็ไม่เป็นของพระองค์
มนุษย์จะได้รับการไถ่อย่างแท้จริง จากอำนาจของซาตาน ก็ต่อเมื่อ พระเจ้าได้ใส่ชีวิตของพระองค์ในมนุษย์นั้นๆแล้ว
วันเพนเตครอส
กจ 2:2 ในทันใดนั้น มีเสียงมาจากฟ้า เหมือนเสียงพายุกล้าสั่นก้อง(บรรจุเต็ม)ทั่วตึกที่เขานั่งอยู่นั้น (And suddenly there came a sound from heaven as of a rushing mighty wind, and it filled all the house where they were sitting.) ข้าพเจ้าเติมคำว่า บรรจุเต็ม เข้าไปในพระคัมภีร์ภาษาไทย หมายถึง พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงบรรจุพระองค์เองเต็มอาคารนั้น พวกสาวกจมอยู่ในพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ บัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นการบังเกิดใหม่ 120 คน ณ วันนั้น
เป็นการประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ , เป็นการถูกบรรจุด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ , เป็นการดำรงอยู่(สถิตอยู่)ของพระวิญญาณบริสุทธิ์
เราจะรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ บัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ ได้อย่างไร
กจ 2:38 จงกลับใจใหม่ และรับบัพติศมา ในพระนามแห่งพระเยซูคริสต์สิ้นทุกคน เพื่อพระเจ้าจะทรงยกความผิดบาปของท่านเสีย แล้วท่านจะได้รับพระราชทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ (Repent, and be baptized every one of you in the name of Jesus Christ for the remission of sins, and ye shall receive the gift of the Holy Ghost.)
มีคำว่า บัพติศมา ในพระนามแห่งพระเยซูคริสต์ และมีคำว่า รับพระราชทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้น การบัพติศมาในพระนามแห่งพระเยซูคริสต์ กับ การบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ น่าจะเป็นคนละอย่างกัน
กจ 8:14-17 เมื่อพวกอัครทูตซึ่งอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม ได้ยินว่าชาวสะมาเรียได้รับพระวจนะของพระเจ้าแล้ว จึงให้เปโตรกับยอห์นไปหาเขา ๑๕. ครั้นเปโตรกับยอห์นไปถึงก็อธิษฐานเผื่อเขา เพื่อให้เขาได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ๑๖. ด้วยว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ยังไม่ได้เสด็จลงมาสถิตกับผู้ใด เป็นแต่ได้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระเยซูเจ้าเท่านั้น ๑๗. เปโตรกับยอห์นจึงวางมือบนเขา แล้วเขาทั้งหลายก็ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์
เมื่อคนต่างชาติ หรือ คนต่างด้าว (อย่างเราคนไทยก็เป็นคนต่างด้าว) รับเชื่อแล้ว ผู้รับใช้ก็วางมือให้เขารับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระคำตอนนี้ ไม่ได้บอกว่า เขาต้องบัพติศมาในน้ำมาก่อน จึงจะบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ บางคริสตจักรก็ไม่ยอม บัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ ให้ ถ้ายังไม่ได้รับบัพติศมาในน้ำ อย่างคริสตจักรแรกๆที่ข้าพเจ้าเคยอยู่ ก็ไม่ยอมทำให้ คิดว่าเป็นความเชื่อที่ผิดแน่นอน และให้สังเกตในข้อที่ 16 มีประโยคว่า "เป็นแต่ได้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระเยซูเจ้าเท่านั้น" ดังนั้นยืนยันจาก กจ 2:38 ข้างบน การบัพติศมาในพระนามแห่งพระเยซูคริสต์ กับ การบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ น่าจะเป็นคนละอย่างกัน แน่นอน การบัพติศมาในพระนามแห่งพระเยซูเจ้า จึงควรเป็น การรับเชื่อนั่นเอง
กท 3:2 ข้าพเจ้าใคร่รู้ข้อเดียวจากท่านว่า ท่านได้รับพระวิญญาณโดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติหรือ หรือได้รับโดยการฟังด้วยความเชื่อ
คงไม่ใช่ว่า ท่านรู้พระคัมภีร์มาก แล้วจะรับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ ได้สำเร็จ ท่านจะรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ บัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ ได้ด้วยความเชื่อ
และไม่มีข้อพระคำสนับสนุนว่า ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์แล้ว จะต้องพูดภาษาแปลกๆ
1 คร 12:30 ทุกคนได้รับของประทานให้รักษาโรคหรือ ทุกคนพูดภาษาแปลกๆ หรือ ทุกคนแปลได้หรือ
บางคริสตจักร บังคับว่า รับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์แล้ว ต้องพูดภาษาแปลกๆ ถ้าไม่พูด แสดงว่า ยังไม่ได้รับ หรือ รับไม่ได้ หรือ ยังบัพติศมาไม่สำเร็จ ความเชื่อนี้ก็ ผิด
1 คร 14:22 เหตุฉะนั้น การพูดภาษาแปลกๆ จึงไม่เป็นหมายสำคัญแก่คนที่เชื่อ แต่เป็นนิมิตแก่คนที่ไม่เชื่อ แต่การเผยพระวจนะนั้น ไม่ใช่สำหรับคนที่ไม่เชื่อ แต่สำหรับคนที่เชื่อแล้ว (Wherefore tongues are for a sign, not to them that believe, but to them that believe not: but prophesying serveth not for them that believe not, but for them which believe.)
บางคนคิดว่า ขณะที่เขากำลังรับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเจ้าจะมาเป็นคนขยับปากของเขา ให้พูดภาษาแปลกๆ เขาปิดปากแน่น อย่างนี้ รออีก 100 ปี ก็พูดไม่ได้ และคนอื่นก็บอกว่า ยังไม่มีพระวิญญาณ อย่าเชื่อพวกเขา เมื่อท่านเชื่อว่า ท่านบัพติศมาแล้วจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ท่านก็ได้รับแน่นอน
อฟ 2:8 ด้วยว่า ซึ่งท่านทั้งหลายรอดนั้น ก็รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวท่านทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้
เราบังเกิดใหม่ โดยความเชื่อ เรารับพระวิญญาณบริสุทธิ์ โดยความเชื่อ
ไม่ใช่ตัวเองต้องรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ตัวต้องสั่น ไม่จำเป็นต้องหัวใจเต้นเร็ว ไม่ใช่ด้วยฤทธิ์เดช ไม่ใช่ต้องมีแสง ไม่ใช่ต้องมีการแผ่นดินสะเทือน ไม่ใช่ด้วยเสียงอธิษฐานวางมืออันดังสนั่น ไม่ใช่ด้วยผู้รับใช้ยิ่งใหญ่ ท่านรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ โดยความเชื่อ

บทเรียนเรื่อง ผู้นำ-ผู้ตาม

บทที่ 1
ประชาชาติ(หรือคริสตจักร) จะสิ้นสุดลงก็เพราะผู้นำ ในพระคัมภีร์เดิมมีเรื่องราวเช่นนี้ ปรากฎให้เห็น ประชาชนที่ไม่เชื่อฟังและทำตามผู้นำ ซึ่งได้รับการเจิมมาจากพระเจ้า ก็จะจบลงด้วยผู้นำที่โง่เขลาและมัวเมา

ผู้พยากรณ์ – ปุโรหิต – ประชาชน
อิสยาห์ได้กล่าวว่า “และจะเป็นอย่างนั้น ต่อปุโรหิตอย่างเป็นกับประชาชน...” (อสย 24.2) “คือผู้เผยพระวจนะได้เผยพระวจนะเท็จ และบรรดาปุโรหิตก็ปกครองตามการชี้นิ้วของเขา และประชากรของเราที่มีการอย่างนี้...” (ยรม 5.31)
สังเกตได้ว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาจาก 2 ฝ่าย คือปัญหาของผู้นำ (ผู้พยากรณ์กับปุโรหิต) และประชาชน พระเจ้าไม่เพียงแต่จะจัดการกับความรับผิดชอบของผู้นำเท่านั้น แต่พระองค์จัดการคนที่ “ปรารถนาต่อสิ่งนั้น” ด้วย พระเจ้าทรงจัดการกับประชากรของพระองค์ที่ติดตามผู้นำที่ไม่เชื่อฟังพระเจ้า
พระเจ้ามิได้ทรงตำหนิพ่อค้าในพระวิหารอย่างเดียว แต่รวมถึงคนซื้อด้วย สมมุตว่าผมมีเงิน 20 ดอลล่าร์จากผู้รับใช้คนหนึ่งเพื่อเป็นค่าตอบแทนที่ผมได้อธิษฐานเพื่อเขา ผมก็เลวพอกับเขาที่คิดไปว่า เงินสามารถซื้อของประทานแห่งพระเจ้าได้ (กจ 8.18-23)
ถ้าคุณส่งเงิน 5 ดอลล่าร์ให้กับผู้ประกาศข่าวประเสริฐทางรายการวิทยุ เพื่อแลกกับน้ำ 1 ขวด จากแม่น้ำจอร์แดน โดยอ้างว่าน้ำนี้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดได้ คุณก็งมงายเท่ากับคนนั้นและทั้งคุณกับเขาต่างถูกพิพากษาตามการกระทำ
พระเจ้าทรงเรียกเราเพื่อให้รายงานตัวต่อพระองค์ทุกอย่าง ดังนั้นเราจึงต้องรู้ว่าผุ้นำเช่นไรมีความเหมาะสมที่เราจะติดตามเขาไป

คริสตจักรหรือประชาชาติจะเติบโตหรือเสื่อมลงนั้นขึ้นอยู่กับผู้นำ
ผู้พยากรณ์เยเรมีย์ชี้ให้เห็นว่า “ผู้เลี้ยงแกะเป็นอันมาก(ผู้นำ) ได้ทำลายสวนองุ่นของเราเสีย เขาทั้งหลายได้เหยียบย่ำสวนของเราลง เขาทั้งหลายได้กระทำสวนอันพึงใจของเรากลายเป้นถิ่นทุรกันดารที่ร้างเปล่า เขาทั้งหลายได้กระทำสวนของเราให้ร้างเปล่า เมื่อร้างเปล่า ส่วนนั้นก็ไว้ทุกข์ต่อเรา แผ่นดินทั้งสิ้นก็ถูกทิ้งให้ร้างเปล่า เพราะไม่มีผู้ใดเอาใจใส่เรื่องนั้น (ยรม12.10-11)
พระเจ้าทรงตรัสผ่านผู้เผยพยากรณ์ด้วยเรื่องของชนชาติอิสราเอล ที่พวกเขาทำการหยาบช้าต่อประชาชน และนำเหตุการณ์ทุกอย่างไปสู่ความหายนะ
ท่านจะเป็นอะไรหรือเป็นใครก็ขึ้นกับผู้นำที่ท่านติดตาม ท่านจะเจริญขึ้นหรือตกต่ำลงก็ขึ้นอยู่กับผู้นำคนนั้น

บทที่ 2
การเติบโตด้านจิตวิญญาณและการพัฒนาที่ถูกจำกัดโดยผู้นำ
ท่านศิษยาภิบาล สมาชิกส่วนใหญ่ไม่อาจเติบโตได้ภายใต้ระดับจิตวิญญาณของท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำที่มีบทบาท พระเจ้าทรงมอบให้ท่านก็เพื่อจะเป็นแบบอย่างแก่สามชิกที่สามารถติดตามท่านได้
มีการถกเถียงกันในเรื่องของความรับผิดชอบของผู้นำ เนื่องจากทิโมธี ซึ่งเรื่องนี้อาจารย์เปาโลได้กล่าวว่า “กสิกรผู้ตรากตรำทำงานก็ควรเป็นคนแรกที่ได้รับผล” (2ทธ2.6) นั่นหมายความว่า ก่อนที่ผู้นำคาดหวังที่จะให้สมาชิกอธิษฐานเผื่อ ท่านต้องอธิษฐานเผื่อคนอื่นก่อน หากท่านต้องการให้คนอุทิศถวายตัว ท่านเองก็ต้องอุทิศถวายตัวด้วยเช่นกัน ท่านต้องเป็นคนแรกที่ได้รับผลนั้นตามที่ปรารถนาให้สมาชิกมีส่วนร่วม
จำเหตุการณ์ที่ชนชาติอิสราเอลอยู่ในถิ่นทุรกันดารได้หรือไม่ นั่นเป้นตอนที่ผู้นำได้พาประชาชนเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาเมื่อพระเจ้าทรงเรียกให้พวกเขาออกจากประเทศอียิปต์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ว่า จะให้พวกเขาไปถึงแผ่นดินคานาอัน ภายใน 40 วัน สำหรับคนที่สามารถเดินได้ไว เขาก็จะใช้เวลาเดินทางเพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง พวกเขากลับต้องใช้เวลาเดินทางถึง 40 ปี เพราะผู้นำเป็นเหตุ


ให้เรามาทบทวนเรื่องนี้กันอีกสักครั้ง เริ่มจากผู้นำจากตระกูล 12 เผ่า ถูกส่งออกไปเป็นผู้สอดแนมในแผ่นดินแห่งพันธสัญญา และต้องกลับมารายงานสิ่งที่ได้เห็น
ในบรรดาผู้นำทั้ง 12 คน มีเพียงโยชูวาและคาเลบ ที่กลับมาพร้อมกับข่าวดี ส่วนที่เหลืออีก 10 คนกลับมาปฏิเสธความเชื่อว่า พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมสิ่งที่ทรงสัญญาไว้ พวกเขารายงานว่าได้เห็นคนรูปร่างใหญ่โตและมีกำลังมากกว่า พวกเขานำแต่ข่าวร้ายมา การรายงานเช่นนี้เท่ากับเป็นการทำลายพระสัญญาของพระเจ้า
คำปฏิเสธของพวกเขามีผลอะไรต่อประชาชน ผู้ซึ่งติดตามถึง 2,500,000 คน พระคัมภีร์บอกว่า “คนทั้งหลายที่ได้เห็นพระสิริของเราแล้วได้เห็นการอัศจรรย์สำคัญที่เราได้กระทำในอียิปต์และในถิ่นทุรกันดาร และยังได้ทดลองเรามาตั้งสิบครั้ง และยังมิได้เชื่อฟังเสียงของเรา คนเหล่านี้จะมิได้เห็นแผ่นดินที่เราได้สัญญากับปู่ย่าตายายของเขา ฉะนั้น คนทั้งปวงที่สบประมาทเราจะไม่ได้เห็นแผ่นดินนั้นสักคนเดียว” (กดว14.22-23)
บรรดาผู้นำได้กุมชะตากรรมของประชาชนไว้ถึง 1,500,000 คน พวกเขาถูกปล่อยให้วนเวียนอยู่ในถิ่นทุรกันดารถึง 40 ปี แผนการของพระเจ้าที่จะนำประชากรของพระองค์ไปสู่ดินแดนแห่งใหม่ และเป็นพรอันยิ่งใหญ่ได้ถูกทำลายลง
เห็นหรือไม่ว่าผู้นำนั้นมีความสำคัญเพื่อท่านจะได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงสัญญลักษณ์และคุณสมบัติของผู้นำที่ท่านควรจะติดตามไป

บทที่ 3
คุณลักษณะของผู้นำที่ดีและไม่ดี

ประการที่ 1
1. ผู้นำของพระเจ้า คือผู้ที่แสวงหาความรับผิดชอบ

ผู้นำที่ไม่ดี คือ ผู้ที่แสวงหาอำนาจ
ผู้นำที่มีความรับผิดชอบอาจจะมีคนติดตาม ขณะที่ผู้นำแสวงหาอำนาจ คนจะปลีกตัวออก

ผู้นำที่แสวงหาความรับผิดชอบ
อัครทูตเปาโลเขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้าหวังใจในพระเยซูว่า ในไม่ช้า ข้าพเจ้าจะให้ทิโมธีไปหาพวกท่าน เพื่อข้าพเจ้าจะได้รับการชูใจ เมื่อได้รับข่าวของท่าน ข้าพเจ้าไม่มีผู้ใดที่มีน้ำใจเหมือนทิโมธี เป็นคนเอาใจใส่ทุกข์สุขอย่างแท้จริง เพราะว่าคนอื่นๆย่อมแสวงหาประโยชน์ของตนเอง ไม่ได้แสวงหาประโยชน์ของพระเยซูคริสต์ แต่ท่านรู้ถึงคุณค่าของทิโมธีดีแล้วว่า เขาได้รับใช้ร่วมกับข้าพเจ้าในการประกาศข่าวประเสริฐ เสมือนบุตรรับใช้บิดา บิดา...ข้าพเจ้าจึงหวังใจว่าจะให้เขามาโดยเร็ว...” (ฟป 2.19-23)
ทิโมธีเป็นคนที่มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่ต่อประชาชน เขาไม่ได้แสวงหาประโยชน์ส่วนตัว แต่ได้แสวงหาประโยชน์เพื่อคนของพระเจ้า เขาไม่คิดที่จะเป็นคนมีหน้ามีตา แต่เป้าหมายของเขาคือการรับใช้และดูแลเอาใจใส่ต่องานของพระเจ้า และคนของพระเจ้า

คำเตือน – ผู้นำนั้นไม่ใช่เจ้านาย
อัครทูตเปโตรได้เตือนผู้นำที่อาจจะตกอยู่ในการทดลองต่อการแสวงหาอำนาจ “จงเลี้ยงดูฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของท่าน ไม่ใช่ด้วยความฝืนใจ แต่ด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ด้วยการเห็นแก่ทรัพย์สิ่งของที่ได้มาโดยทุจริต แต่ด้วยความเลื่อมใส และไม่ใช่เหมือนเป็นเจ้านายที่ข่มขี่ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ แต่เป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะนั้น” (1เปโตร5.2-3)
สิ่งที่เปาโลกล่าวไว้นั้นก็ชัดเจนดีแล้ว ผู้นำไม่ใช่เจ้านาย ผู้นำฝ่ายวิญญาณคือ ผู้ที่เต็มใจที่จะรับผิดชอบต่อฝูงแกะของพระเจ้าในฐานะผู้เลี้ยง พระเจ้ามิได้ทรงพระประสงค์ให้ผู้นไใช้อำนาจกดขี่เหนือริสตจักรแต่อย่างใด
ผู้นำไม่ใช่เจ้านาย ผู้นำฝ่ายวิญญาณคือผู้ที่เต็มใจจะรับผิดชอบต่อฝูงแกะของพระเจ้า ในฐานะผู้เลี้ยง

บทที่ 4
คุณลักษณะของผู้นำที่ดีและไม่ดีประการ 2
1. ผู้นำที่ดีจะเอาใจใส่ต่อการดูแลเลี้ยงดูฝูงแกะ
2. ผู้นำที่ไม่ดีจะมุ่งไปที่ “ผลประโยชน์” จากฝูงแกะ
ผู้พยากรณ์เยเรมัย์ได้พยากรณ์ถึงบรรดาปุโรหิต เพราะท่านได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สัตย์ซื่อของผู้นำ ท่านได้คัดค้านพวกเขา เยเรมัย์รู้ดีว่าพระเจ้าทรงสัญญาไว้ว่า “...เราจะให้ผู้เลี้ยงแกะ คนที่พอใจเราแก่เจ้า ผู้ซึ่งจะเลี้ยงเจ้าด้วยความรู้และความเข้าใจ” (ยรม3.15) ถ้าท่านเป็นผู้รับใช้ที่ถูกต้องตามน้ำพระทัยของพระเจ้าแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือท่านจะเอาใจใส่ต่อฝูงแกะของท่าน
พระเจ้าทรงสัญญาอีกว่า “แล้วเราจะรวบรวมฝูงแกะของเราที่เหลืออยู่ออกจากประเทศทั้งปวง ซึ่งเราได้ขับไล่ให้เขาไปอยู่นั้น และจะนำเขากลับมายังคอกของเขา เขาจะมีลูกดกและทวีมากขึ้น พระเจ้าตรัสว่า เราจะตั้งผู้เลี้ยงแกะไว้เหนือเขา ผู้จะเลี้ยงดูเขาและเขาทั้งหลายจะไม่กลัวเขาอีกเลย หรือครั่นคร้าม จะไม่ขาดไปเลย” (ยรม23.3-4)
ผู้นำทั้งหลายที่เลี้ยงฝูงแกะของเขา คือ ผู้ที่เราจะติดตามท่าน

ผู้เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว
คราวนี้ ให้เรามาดูอีกแง่มุมหนึ่งว่าเราต้องระมัดระวังคนที่ละเลยต่อฝูงแกะ
“จงพยากรณ์กล่าวโทษว่าแก่เขา คือผู้เลียงแกะว่า พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า วิบัติแก่ผู้เลี้ยงแกะแห่งอิสราเอล ผู้เลี้ยงตัวเอง ผู้เลี้ยงแกะย่อมเลี้ยงแกะมิใช่หรือ เจ้ารับประทานไขมัน เจ้าคลุมกายของเจ้าด้วยขนแกะ เจ้าฆ่าแกะตัวอ้วนๆ เจ้าหาได้เลี้ยงแกะไม่ ตัวที่อ่อนเพลียเจ้าก็ไม่เสริมกำลัง ตัวที่เจ็บเจ้าก็ไม่รักษา ตัวที่กระดูกหักเจ้าก็มิได้พันผ้า ตัวที่หลงไปเจ้ามิได้ตามกลับมา ตัวที่หายไปเจ้าก็มิได้เสาะหา และเจ้าได้ปกครองเขาด้วยการบังคับและด้วยการกดขี่ เบียดเบียน ดังนั้นมันจึงกระจัดกระจายไปหมด เพราะว่าไม่มีผู้เลี้ยงแกะ และมันก็ไปเป็นอาหารของสัตว์ป่าทุ่งทั้งหลายหมดและกระจัดกระจายไป แกะของเราก็เที่ยวไปตามภูเขาทั้งหมดและตามเนินเขาสูง เออ แกะของเราก็กระจายไปทั่วพิภพ ไม่มีใครเที่ยวค้น ไม่มีใครเสาะหามัน เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายเป็นผู้เลี้ยงแกะ จงฟังพระวจนะของพระเจ้า พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า ดูเถิด เราเป็นปฏิปักษ์กับผู้เลี้ยงแกะ และเราจะเรียกร้องเอาแกะของเราจากมือของเขา และให้เขายับยั้งการเลี้ยงแกะของเขา ผู้เลี้ยงแกะจะไม่ได้เลี้ยงตัวเองอีกต่อไป เราจะช่วยแกะของเราให้พ้นจากบาปของเขา เพื่อมิให้แกะเป็นอาหารของเขา” (อสค34.2-10)
เมื่อ 2 – 3 ปีก่อนผมได้รับเรื่องหนึ่งจากผู้นำทางศาสนาที่มีชื่อเสียง ท่านผู้นี้เป็นอาจารย์สอนเรื่องความสัมพันธ์ที่ “ถูกต้อง” ระหว่างผู้เลี้ยงและสมาชิก
ท่านผู้นี้เชื่อว่าสมาชิกต้องรับเลี้ยงผู้นำอย่างแน่นอน ผมยังจำคำพูดของท่านได้ดีว่า “เมื่อผมอยากจะทาสีบ้านใหม่ ผมก็จะเรียกสมาชิกของผมแล้วเขาก็จะมาทาสีบ้านให้ผม หรือว่าถ้าหญ้าที่สนามหญ้ามันยาวต้องตัดเสียที ผมก็จะบอกสมาชิกและเขาก็จะจัดการตัดหญ้าให้ผมเสร็จ”
ผมเองยังคิดไม่ตกเลยว่า ถ้าผู้ที่รู้ตัวดีว่าเขากำลังเดินอยู่บนทางของพระเจ้า และรู้จักทางของพระองค์ดี เขาพูดออกมาได้อย่างไรว่าสมาชิกต้องเป็นผู้รับเลี้ยงเขา ทั้งที่ความจริงแล้ว เขาต่างหากที่ต้องเลี้ยงดูสมาชิก
พระเจ้าตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังและชัดเจนว่า “จงหลีกเลี่ยงผู้นำเช่นนั้นเสีย... เจ้าคลุมกายของเจ้าด้วยขนแกะ เจ้าฆ่ากะตัวอ้วนๆ เจ้าหาได้เลี้ยงแกะไม่”
ผู้พยากรณ์มีคาห์ได้ชี้ให้เห็นถึงจิตวิญญาณและการปกครองที่ตกต่ำไม่บริสุทธิ์ของผู้นำว่า “ผู้สร้างศิโยนด้วยโลหิต และสร้างเยรูซาเล็มด้วยความผิด ผู้เป็นประมุขของเมืองนี้ตัดสินความเห็นแก่สินบน ปุโรหิตของเธอสั่งสอนด้วยเห็นแก่สินจ้าง ผู้เผยพระวจนะของเธอทำนายด้วยเห็นแก่เงิน” (มีคาห์3.10-11)
พระเจ้าตรัสกับเราว่า ถ้าเราร่วมมือกับผู้นำที่มีความผิด เพียงเพื่อพะยุงอำนาจไว้ ทั้งผู้นำและประชาชนต่างก็จะถูกพิพากษาโค่นลง พระเจ้าจะส่งการพิพากษามายังพวกเขา
พระเยซูทรงสถาปนาผู้นำคริสตจักรที่มีคุณภาพ พระองค์ตรัสว่า “ผู้ที่รับจ้างมิได้เป็นผู้เลี้ยงแกะ และฝูงแกะไม่เป็นของเขา เมื่อเห็นสุนัขจิ้งจอกป่ามา เขาจึงทิ้งฝูงแกะ หนีไป สุนัขก็ชิงเอาแกะไปเสีย และทำให้ฝูงแกะกระจัดกระจายไป เขาหนีเพราะเขาเป็นลูกจ้าง และไม่เป็นห่วงแกะเลย” (ยน10.12-13)
คนรับจ้างย่อมดูแลแกะเพียงเพื่อเงิน เป็นเพียงสิ่งจูงใจมทีเขาต้องการได้มาเท่านั้น เขาไม่ได้ดูแลฝูงแกะ ยิ่งไปกว่านั้นเขาใช้แกะเป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง และเขาของมันเป็นเพียง “แกะโง่ๆ” เพราะนั่นเป็นเป้าหมายในงานรับจ้าง
ผู้เลี้ยงแกะที่แท้จริงนั้น ต้องดูแลเอาใจใส่แกะของเขา ด้วยความเต็มใจที่จะปกป้องด้วยชีวิตของเขา ถ้าแม้จะต้องทนหิวเขาก็ยอกเพื่อให้แน่ใจว่า แกะของเขาได้กินอาหารแล้ว เขาจะไม่มีความคิดว่าเขาได้ค่าตอบแทนเท่าไร หรือได้รับกรรมสิทธิ์มากเท่าใด
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้เลี้ยงที่แท้จริงและสัตย์ซื่อจะไม่ได้รับการเลี้ยงดู พระคัมภีร์ได้หยิบยกนิทานเปรียบเทียบเพื่อสอนเราให้เข้าใจถึงความรับผิดชอบที่ควรจะเป็นของผู้เลี้ยงไว้ว่า “อย่าเอาตระกร้อครอบปากวัวเมื่อมันกำลังนวดข้าว” ระหว่างที่วัวกำลังทำงานบนลานนวดข้าว พระคัมภีร์ได้ให้สิ่งที่วัวควรจะได้ นั่นคืออาหารที่ได้จากข้าวที่มันนวด
จากเรื่องนี้ พระเจ้าสอนเราว่า ผู้นำนั้นต้องได้รับการเลี้ยงดู อย่างไรก็ตาม ถ้าวัวตัวใดที่กินพืชผลเสียหมด มันก็จะถูกครอบปากเสีย และชาวนาอาจจะหาวัวตัวใหม่มานวดแทน วันนั้นจะต้องนวดข้าวได้มากกว่าที่มันกินเข้าไป หรือถ้านำข้าวไปขายแล้วจะต้องได้กำไรกลับคืนมา
เรื่องทำนองนี้ค่อนข้างจะพูดยากสักหน่อย แต่ถ้าเราไม่ระมัดวัง มัวแต่เลินเล่อ เราก็ตกอยู่ในการล่อลวงของซาตานที่มีต่อผู้นำ 4 ปี การด้วยกันคือ ความต้องการเงิน(โลภ), ตำแหน่ง, อำนาจ(ความหยิ่ง) และเรื่องเพศ โดยพระคุณพระเจ้าเท่านั้นที่จะคุ้มครองผู้นำให้พ้นจากการตกอยู่ในอำนาจการล่อลวงต่อความบาป อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง
ถ้าผู้นำรู้จักระวังตัว อธิษฐานสำรวจชีวิตของท่านเสมอ และเชื่อฟังพระวิญญาณบริสุทธิ์ ให้พระองค์ส่องแสงจิตใจที่สามารถปรับความต้องการ และมีชัยชนะเหนือการทดลองแล้ว เขาก็จะประสพผลอันดี ซาตานจะเข้ามาทางสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือสิ่งที่เป็นมลทิน และเป็นเหตุให้ผู้นำติดกับดักของมัน สิ่งเหล่านี้จะถูกปิดกั้นจากผู้นำได้นั้น ต้องพึ่งการอธิษฐานและขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า
เราจะได้รับการสอนให้อธิษฐานเผื่อผู้มีอำนาจทุกคน ในที่นี้หมายรวมถึงผู้นำฝ่ายจิตวิญญาณและผู้นำฝ่ายโลก

บทที่ 5
คุณลักษณะของผู้นำที่ดีและไม่ดี ประการที่ 3
1. ผู้นำที่ควรติดตามนั้นคือ ผู้ที่รวบรวมฝูงแกะเข้าด้วยกัน
2. ผู้นำที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ผู้นำที่ทำให้ฝูงแกะกระจัดกระจายไป

3.ผู้นำที่ดีจะรวบรวมฝูงแกะเข้าด้วยกัน
ด้วยความอ่อนสุภาพ
“ดูเถิด พระเจ้าเสด็จมาด้วยอานุภาพและพระกรของพระองค์ครอบครองเพื่อพระองค์ ดูเถิด รางวัลของพระองค์ก็อยู่กับพระองค์ และค่าตอบแทนของพระองค์ก็อยู่ต่อพระพักตร์พระองค์ พระองค์จะทรงเลี้ยงฝูงแพะแกะของพระองค์อย่างผู้เลี้ยงแกะ พระองค์จะทรงรวบรวมลูกแกะไว้ในพระกรของพระองค์ พระองค์จะทรงอุ้มไว้ที่พระทรวง และทรงค่อยๆนำบรรดาที่มีลูกอ่อนไป(อสย40.10-11)
นั่นคือภาพที่บรรยายถึงผู้เลี้ยงที่แท้จริง: ผู้ที่รวบรวมแกะเข้าด้วยกัน พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้เราเชื่อฟังผู้นำที่สละชีวิตของเขาเองต่อฝูงแกะ และให้สังเกตว่าเป้าหมายหลักของผู้รวบรวมแกะนั้นคืออ่อนสุภาพ ผู้นำที่แท้จริงของพระเจ้านั้นต้องเป็นคนอ่อนสุภาพ
กษัตริย์ดาวิดผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติอิสราเอลกล่าวว่า “พระองค์ทรงน้อมพระทัยลง ก็กระทำให้ข้าพระองค์เป็นใหญ่ขึ้น” สุภาพอ่อนโยนและความถ่อมใจนั้นไม่ใช่อ่อนแอ ความสุภาพอ่อนโยนนั้นสำแดงออก โดยความช่วยเหลือ หนุนใจคนที่อ่อนแอและช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือและปลอบโยนกระตุ้นให้คนนั้นมีเรี่ยวแรงและเข้มแข็งขึ้น
มีคำเขียนถึงพระเยซูคริสต์เจ้าของเราว่า “ไม้อ้อช้ำแล้วท่านจะไม่หัก และไส้ตะเกียงที่ลุกริบหรี่อยู่ท่านจะไม่ดับ...” (อสย42.3) เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นผู้เลี้ยงที่อ่อนสุภาพ เมื่อพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นคนที่ชอกช้ำ พระองค์จะทรงรักษาเยียวยาเขาให้หาย และจะไม่ทำให้เขาเจ็บปวด เมื่อพระองค์แลเห็นคนที่กำลังตะเกียกตะกาย ต่สู้กับการงาน พระองค์จะทรงเข้ามาหาและจุดประกายไฟ (ด้วยความยินดี) จนกว่าชีวิตของเขาจะลุกขึ้นยืนหยัดเฉกเช่นไส้ตะเกียงที่ลุกโชติช่วงและสามารถเห็นถึงความจริงและความบริสุทธิ์อย่างชัดเจน
อันที่จริงแล้ว ยังมีคนที่จริงใจอีกเป็นจำนวนมาก กำลังดิ้นรนต่อสู้ในการใช้ของประทานของเขา พวกเขาเป็นเหมือนไส้ตะเกียง ผู้นำต้องไม่ไปดับแสงสว่างนั้น แต่ผู้นำต้องจุดไส้ตะเกียงนั้นให้ลุกโชติช่วงส่องสว่างเป็นพระกายขึ้นมา นี่คือความหมายของผู้นำที่อ่อนสุภาพ เป็นผู้เลี้ยงซึ่งนำฝูงแกะมารวมกันได้


ผู้นำที่ทำให้ฝูงแกะ
กระจัดกระจายไป
อีกแง่มุมหนึ่งของผู้นำที่ทำให้ฝูงแกะกระจัดกระจาย ในที่นี้พระบิดาทรงตรัสถึงคนประเภทนี้ว่า “วิบัติจงมีแก่ผู้เลี้ยงแกะ (ผู้นำ) ผู้ทำลายและกระจายแกะของลานหญ้าของเรา” เพราะฉะนั้นพระเยโฮวาห์ พระเจ้าแห่งอิสราเอลตรัสกับผู้เลี้ยงแกะ(ผู้นำ) ผู้ดูแลประชากรของเราดังนี้ว่า “เจ้าทั้งหลายได้กระจายฝูงแกะของเราและได้ขับไล่มันไปเสีย และเจ้ามิได้เอาใจใส่มัน พระเจ้าตรัสว่า ดูเถิดเราจะเอาใจใส่เจ้าเพราะการกระทำทำที่ชั่วของเจ้า” (ยรม23.1-2)
ผู้เลี้ยงแกะที่แท้จริงทุกคนจะรวบรวมแกะเข้าด้วยกัน แต่ผู้เลี้ยงไม่แท้จะทำให้แกะกระจัดกระจายสร้างความสับสนวุ่นวาย แบ่งแยกและตอบโต้ ผู้นำชนิดนี้เราต้องหลีกเลี่ยง

บทที่ 6
คุณลักษณะของผู้นำที่ดีและไม่ดีประการที่ 4
1. ผู้นำที่ดีนั้นรู้ว่าลูกแกะเป็นของพระเจ้า
2. ผู้นำที่ไม่ดีจะอ้างสิทธิ์ในลูกแกะ
ผู้เลี้ยงที่แท้จริงนั้นให้พระเจ้ามีสิทธิ์ในลูกแกะ แต่ผู้เลี้ยงที่ไม่แท้จะอ้างสิทธิ์ในลูกแกะ และประกาศโจ่งแจ้งว่าตนเป็นเจ้าของแกะเหล่านั้น
ความจริงที่หนีไม่พ้นก็คือ ไม่มีพระคัมภีร์ตอนใดที่สนับสนุนหรือเห็นด้วยกับการอ้างสิทธิ์ในลูกแกะของผู้เลี้ยงที่ไม่แท้เลย และแน่นอนที่สุด พระคัมภีร์ได้ชี้ชัดลงไปว่าพระเจ้าเท่านั้นทรงเป็นเจ้าของแกะ ไม่มีผู้เลี้ยงคนใดมีสิทธิ์ในแกะเลย “...เราก็เป็นของพระองค์ เราเป็นประชากรของพระองค์ เป็นแกะแห่งทุ่งหญ้าของพระองค์” (สดด100.3) และสดุดี23.1 “พระเจ้าทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ”
ผู้เลี้ยงที่แท้จริงจะรู้ว่าพระองค์เดียวเท่านั้น มีสิทธิ์ในแกะทั้งหลาย แต่ผู้เลี้ยงที่ไม่แท้นั้นจะอ้างว่าแกะเป็นสิทธิ์ของตน
หนังสือผู้พยากรณ์เป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ว่า “และเราจะตั้งผู้เลี้ยงแกะผู้หนึ่งไว้เหนือเขา คือดาวิดผู้รับใช้ของเรา และท่านจะเลี้ยงเขาทั้งหลาย ท่านจะเลี้ยงเขาและเป็นผู้เลี้ยงของเขา...และเขาจะทราบว่าเราคือ พระยโฮวาห์พระเจ้าของเขาสถิตกับเขา และเขาคือพงศ์พันธุ์อิสราเอล เป็นประชากรของเรา พระเจ้าตรัสดังนี้แหละ เจ้าทั้งหลายเป็นแกะของเรา เป็นแกะในลานหญ้าของเรา เจ้าทั้งหลายเป็นมนุษย์ และเราเป็นพระเจ้าของเจ้า พระเจ้าตรัสดังนี้แหละ” (อสค 34.23, 30,31)
พระเจ้าทรงมีสิทธิ์ในแกะนั้น พวกเขาเป็นของพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว และพระองค์ทรงต้องการให้เรารับรู้ และเข้าใจด้วยเช่นกันว่า พวกเขาไม่ได้เป็นของผู้นำหรือคณะนิกายใด แต่เป็นของพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
อาจารย์เปาโลได้เตือนว่า “พระเจ้าได้ทรงซื้อท่านไว้แล้ว ด้วยราคาสูง เหตุฉะนั้นท่านจงถวายเกียรติแด่พระเจ้าด้วยเจ้าด้วยร่างกายของท่านเถิด” (1คร6.20) หลักการง่ายๆก็คือพระเยซูทรงซื้อเราไว้แล้ว ดังนั้นเราจึงไม่ใช่เจ้าของตัวเราเองอีกต่อไป แต่เราเป็นของพระองค์ และเราจำเป็นต้องถวายเกียรติต่อพระเจ้า ด้วยร่างกายและจิตวิญญาณของเรา
พระองค์มีสิทธิ์ในตัวเราและทรงประทับตราเราไว้แล้ว ไม่มีตราประทับใดจะมาแทนที่ตราประทับของพระเยซูติดอยู่ที่กายของข้าพเจ้าแล้ว” (กท 6.17) อาจารย์เปาโลมีความยินดีที่ท่านไม่ถูกประทับเป็นอย่างอื่น นอกจากเครื่องหมายของพระเยซูเจ้าเองอาจจะต้องตกเป็นทาสของสิ่งอื่นๆใดก็ได้ แต่ท่านได้อยู่ในพระประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อประชากรของพระองค์
...ไม่เพียงแต่ผู้นำที่เป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหาเท่านั้น...บ่อยครั้งที่ลูกแกะเองก็แสวงหาความพอใจใส่ตัวเอง...
ผู้เลี้ยงที่แท้คือผู้ที่รู้ว่าเขาเป็นของพระเจ้า คนที่อ้างสิทธิ์ในลูกแกะและอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองแทนพระเจ้า เขาผู้นั้นก็ได้ละเมิดต่อกฎบัญญัติแล้ว
บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
การบัพติสมา พระวิญญาณบริสุทธิ์คืออะไร ?
คำ บัพติสโซ แปลว่าจุ่มมิดทั้งหมด ถูกปกคลุมรอบด้าน บัพติสมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ก็วิญญาณของมนุษย์เต็มล้น (เติมเต็มอิ่มซาบซาน) ด้วยพระวิญญาณเกิดกับผู้ที่เป็นคริสเตียนเท่านั้นโดยยอมจำนนต่อ พระวิญญาณบริสุทธิ์ให้พระองค์ควบคุมเต็มที่แม้แต่ลิ้นซึ่งเป็นอวัยวะที่ควบคุมยากและอยู่ไม่สุขก็ถูกควบคุมโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ และภาษาแปลก ๆ ก็หลั่งไหลออกมา (กจ.2:4)
บัพติสมาในพระวิญญาณเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการผจญภัยในชีวิตคริสเตียนในโลกของฝ่ายวิญญาณ เป็นการเปิดประตูใหม่ในประสบการณ์ชีวิตคริสเตียนในความสัมพันธ์กับพระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์อยู่
ประสบการณ์นี้มีชื่อเรียกต่างๆกันตามที่ปรากฎ ใน N.T.ตามสัญญาของพระบิดา ลก.24:49 รับบัพติสมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ กจ.1:5 ของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ กจ.2:38 เทพระวิญญาณลงมาเหนือมนุษย์ทั้งปวง กจ.2:17 รับพระวิญญาณ กจ.8:17 ประกอบด้วยพระวิญญาณ (กจ.2:4) รับฤทธิ์เดชจากเบื้องบน ลก.24:49 พระวิญญาณเสด็จลงมาสถิต กจ.10:44 พระวิญญาณลงมาเหนือ เขาทั้งหลาย
เมื่อได้รับประสบการณ์นี้ส่วนใหญ่แล้วอารมณ์จะถูกกระตุ้นจิตวิญญาณจะรับการสัมผัสจากพระเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จลงมาสวมทับ ร่างกายจะมีปฎิกิริยาตอบโต้แสดงออกมาซึ่งไม่ใช่เป็นการสำแดงของพระวิญญาณเสมอไป
การรับบัพติสมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ได้ทำให้คนๆ นั้นมี พระวิญญาณบริสุทธิ์ มากกว่าคนอื่นๆ แต่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้รับการยินยอมให้ควบคุมคนๆ นั้นมากกว่าที่คนอื่นๆ จะยอมให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ควบคุมประเด็นสำคัญจึงไม่ใช่อยู่ที่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์มากหรือน้อยแต่อยู่ที่ว่ายอมจำนนต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้พระองค์ควบคุมได้มากหรือน้อย
จุดประสงค์ของบัพติสมาในพระวิญญาณ บัพติสมาในพระวิญญาณเป็นจุดเริ่มต้นของคริสเตียน ที่ยอมจำนนต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์อย่างเต็มที่ในบางกรณีอาจต้องใช้เวลายาวนานพอควร กว่าที่ผู้เชื่อจะเรียนรู้การยอมจำนนต่อ พระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นการง่ายที่จะทำด้วยกำลังตัวเองเพื่อพระเจ้า แต่เป็นการยากที่จะยอมให้ พระวิญญาณบริสุทธิ์ทำผ่านเราเพื่อพระเจ้าแต่การยอมจำนนนี่แหละคือ กุญแจนำ สู่ความเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณและชีวิตอย่างพระคริสต์บัพติสมาในพระวิญญาณเป็นประสบการณ์สำคัญในชีวิตคริสเตียนที่จะเรียนรู้การยอมโดยสิ้นเชิงต่อ พระวิญญาณบริสุทธิ์
บัพติสมาในพระวิญญาณเป็นเพียงการเริ่มต้นไม่ใช่เป้าหมายสุดยอดเมื่อผู้เชื่อเรียนรู้การยอมจำนนต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์แล้วก็ต้องเรียนรู้ที่จะยอมจำนนต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ในการดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณบริสุทธิ์
บัพติสมาในพระวิญญาณไม่ใช่เป็นประสบการณ์ครั้งเดียวพอแต่ต้องฝึกฝนในการยอมจำนนอยู่ในการควบคุมของพระวิญญาณบริสุทธิ์มากขึ้นและบ่อย ๆ ในชีวิตแต่ละวัน เป็นสัมพันธภาพอันใกล้ชิดระหว่างบุคคล 2 บุคคล คือ พระวิญญาณบริสุทธิ์กับผู้เชื่อ
บัพติสมาในพระวิญญาณเปิดโอกาสให้คริสเตียน ได้ก้าวสูงขึ้นไปในชีวิตคริสเตียน บัพติสมาใน พระวิญญาณมักจะเกิดขึ้นก่อนการรับของประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ (1คร.12:7-11) และมีผลต่อการสำแดงของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของบุคคลนั้น(กท.5:22,23)แต่ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับการยอมจำนนให้ พระวิญญาณบริสุทธิ์มีส่วนควบคุมในแต่ละวันมากน้อยเพียงใด บัพติสมาในพระวิญญาณเป็นการจุ่มจิตวิญญาณของมนุษย์ลงในพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อเตรียมพร้อมในการรับใช้ยกย่องพระเยซูคริสต์เป็นการรับฤทธิ์เดช (กำลังความสามารถพิเศษ,ความกล้า)
การรับบัพติสมาในพระวิญญาณ คริสเตียนส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า
1. ผู้เชื่อทุกคนควรประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
2. พระเจ้าต้องการประทาน พระวิญญาณบริสุทธิ์พระเยซูตรัสชัดเจนใน ลก.11:13 การรับ บัพติสมาในพระวิญญาณ เป็นเรื่องที่ผู้เชื่อทุกคนควรรับและสามารถที่จะรับได้
ผู้ที่จะรับบัพติสมาในน้ำได้ยอมให้ผู้ประกอบพิธีกดตัวเขาจมลงในน้ำฉันใด ผู้รับบัพติสมาใน พระวิญญาณต้องยอมให้พระคริสต์เพื่อพระองค์จะ บัพติสมาในพระวิญญาณเป็นการยอมจำนนโดยสิ้นเชิงต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งเป็นบทเรียนสำคัญที่สาวกทุกคนต้องเรียนรู้บัพติสมาในพระวิญญาณเป็นประสบการณ์ ที่ผู้เชื่อเรียนรู้ที่จะให้ พระวิญญาณบริสุทธิ์ครอบครองจิตใจชีวิตของเขาการรับบัพติสมาในพระวิญญาณเป็นของประทานที่รับโดยความเชื่อ ปกติแล้วจะเกิดกับผู้เชื่อที่กลับใจบังเกิดใหม่และรับบัพติสมาในน้ำแล้ว แต่มีบางรายที่ได้รับก่อนรับบัพติสมาในน้ำ แต่ผู้ที่จะรับบัพติสมาในพระวิญญาณต้องมีชีวิตที่สะอาดถูกชำระแล้วโดยพระโลหิตและต้องมีเจตนารมณ์ที่ถูกต้องคือต้องการพระเจ้ามากขึ้นไม่ใช่ต้องการชื่อเสียง การยกย่องหรือความเป็นบุคคลพิเศษฝ่ายวิญญาณ ไม่จำเป็นต้องมีเทคนิคพิเศษพิธีกรรมพิเศษหรือสถานที่เวลาที่พิเศษ เมื่อหิวกระหายแสวงหาก็ได้รับพระเจ้าพร้อมที่จะให้ แต่ถ้าต้องล่าช้าในการรอคอยก็เพราะมนุษย์ไม่พร้อมที่จะรับ

วันศุกร์ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ขอเติมให้เต็มใจข้า

ขอเติมให้เต็มใจข้า

1.ขอสวมทับทรงชำระใจ โอพระวิญญาณทรงเจิมเกล้าไว้

Hover o’er me, Holy Spirit, bathe my trembling heart and brow

เติมให้เต็มดวงใจของข้า โปรดเสด็จมาในใจเดี๋ยวนี้

Fill me with thy hallow’d presence, Come, o come and fill me now

พระวิญญาณเสด็จมา ขอทรงเติมให้เต็มใจข้า

Fill me now, fill me now, Jesus, come and fill me now;

เติมให้เต็มดวงใจของข้า โปรดเสร็จมาในใจเดี๋ยวนี้

Fill me with thy hallow’d presence, Come, o come and fill me now

2.พระวิญญาณทรงเติมข้าได้ ข้าไม่รู้ว่าทรงเติมอย่างไร

Thou canst fill me, gracious Spirit, Thou I cannot tell thee how;

ข้าต้องการพระองค์นักหนา โปรดเสด็จมาในใจเดี๋ยวนี้

But I need thee, greatly need thee, come, o come and fill me now

3.ข้าเป็นคนแสนจะอ่อนแอ ข้ามักพ่ายแพ้ขอกราบบาทา

I am weakness, full of weakness, at thy sacred feet I bow;

พระวิญญาณพระทานพรกล้า ขอเติมใจข้าให้เต็มเดี๋ยวนี้

Blest, divine, eternal Spirit, fill with pow’r, and fill me now

4.ทรงปลอบโยนอวยพรรักษา หุ้มห่อใจข้าสะอาดสดใส

Cleanse and comfort, bless and save me Bathe, o bathe my heart and brow;

ผู้ปลอบโยนอวยพรรักษา เชิญมาทรงเติมให้เต็มเดี๋ยวนี้

Thou art comforting and saving, Thou art sweetly filling now

วันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

เพลงโอ้ ข้ายกพระนามพระองค์

G C D C/D/G
โอ้ข้ายกพระนามพระองค์

G C D C/D/G
โอ้ข้ารักจึงร้องเพลงสรรเสริญ
G C D C/D/G
พระเยซูทรงอยู่ภายใน
G C D
ข้ายินดีทรงช่วยให้ข้ารอด
G C D C G
** ลงจากสวรรค์สู่โลกา สำแดงหนทาง
C D C G
จากโลกาสู่กางเขน ชำระความบาป
C D Bm Emจากกางเขนสู่อุโมงค์ จากอุโมงค์สู่สวรรค์